Page 51 - kpiebook63007
P. 51

51




                        3.1.3 วัฒนธรรมและพฤติกรรมทำงกำรเมืองไทย



                        การนำาเสนอวัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองไทย ผู้เขียนอาศัยแนวคิดที่สำาคัญ 4 คน คือ
                นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2547 ก, 2550) ลิขิต ธีรเวคิน (2551) ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2552) และ ทินพันธุ์ นาคะตะ (2543)

                โดยสรุปแนวคิดของนักวิชาการทั้ง 4 คน ได้ดังนี้


                        นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2547 ก : 125-155) วิเคราะห์ว่า สังคมไทยมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมือง
                ที่ไม่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังถ้อยคำาสำาคัญว่า “ความล้มเหลวของระบอบรัฐธรรมนูญ
                ที่ผ่านมาเป็นเพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งแปลกปลอม ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองของไทย” นอกจากนี้

                นิธิ ยังเห็นอีกว่า “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมหาศาลจนละเมิดไม่ได้ ฉีกไม่ได้ แต่กฎหมาย

                รัฐธรรมนูญมักจะถูกละเมิด ถูกฉีกได้โดยง่าย..”


                        นิธิ วิเคราะห์ว่า ข้อกำาหนดของความสัมพันธ์เชิงอำานาจในสังคมหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากใคร
                เป็นผู้กำาหนดขึ้น แต่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลและสถาบันต่าง ๆ ในสังคมนั้น ได้ต่อสู้ช่วงชิงและรักษาสถานะแห่ง
                อำานาจของตนมาเป็นเวลานานจนทำาให้เกิดการยอมรับกันในระดับหนึ่ง กลายเป็นประเพณีทางการปกครอง

                และการเมืองขึ้น กล่าวได้ว่า วิถีชีวิต วิถีความคิด และค่านิยม ของสังคมนั้น ๆ เคยชินที่จะมองเห็นว่าอำานาจที่

                ชอบธรรมนั้นต้องสัมพันธ์กันแบบนั้น นั่นก็คือ “วัฒนธรรมทางการเมือง”

                        วัฒนธรรมทางการเมืองของทุกสังคมไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งแล้ว เพราะการต่อสู้ช่วงชิงและรักษาสถานะ

                แห่งอำานาจของสถาบันและบุคคลในทุกสังคมไม่ได้หยุดนิ่ง ยังคงดำาเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตามกระแสความเปลี่ยนแปลง
                ทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา คนในสังคมนั้นจึงอาจมีค่านิยมในทางการเมืองเปลี่ยนไป


                        นิธิสรุปว่า รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งที่สังคมไทยมองว่าศักดิ์สิทธิ์และละเมิดไม่ได้

                แต่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา สถาบันที่สำาคัญในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย เฉพาะที่สำาคัญ
                ที่ผู้เขียนจะขอนำามาอธิบาย ได้แก่


                        1)  สถาบันพระมหากษัตริย์


                        ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรจะตราไว้หรือไม่ สถาบันกษัตริย์ก็แทรกอยู่ในทุกส่วนของ

                วัฒนธรรมไทย จนกระทั่งเป็นการยากมากที่จะขาดสถาบันนี้ไป ไม่ว่าจะมีการบัญญัติไว้หรือไม่ พระมหากษัตริย์
                ก็ทรงเป็นที่เคารพสักการะอันผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้อยู่นั่นเอง หมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญนั้นยกออกไป

                ทั้งหมดก็ไม่ทำาให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยสั่นคลอน เพราะหมวดนี้อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมอย่าง
                มั่นคงอยู่แล้ว และนี่คือเหตุผลที่ว่า ถึงจะฉีกรัฐธรรมนูญกันมากี่ครั้งแล้ว หมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญที่

                ร่างกันใหม่จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเป็นพิเศษ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56