Page 99 - kpiebook62009
P. 99

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


               ประเมินผล รวมทั้งการรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยโครงการพัฒนาดังกล่าว จะต้องมี

               ความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมชุมชน
                                 2. การมีส่วนร่วมในนัยทางการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                   2.1 การส่งเสริมสิทธิและพลังอำนาจของพลเมืองโดยประชาชน หรือ ชุมชน
               พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการจัดการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ควบคุมการใช้และ

               กระจายทรัพยากรของชุมชนอันจะก่อให้เกิดกระบวนการ และโครงสร้างที่ประชาชนในชนบทสามารถ
               แสดงออกซึ่งความสามารถของตนและได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา

                                   2.2 การเปลี่ยนแปลงกลไกการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมี
               บทบาทหลัก โดยการกระจายอำนาจในการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นส่วนภูมิภาค เพื่อให้ภูมิภาคมี

               ลักษณะเป็นเอกเทศ ให้มีอำนาจทางการเมือง การบริหาร มีอำนาจต่อรองในการจัดสรรทรัพยากรอยู่ใน
               มาตรฐานเดียวกัน โดยประชาชนสามารถตรวจสอบได้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเสริมสร้างพลังอำนาจ

               (empowerment) ในการพัฒนาให้แก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตนเอง
                               2) แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน

                                 แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้มีผู้นิยามความหมายดังกล่าวไว้มากมาย โดย
               ผู้วิจัยได้หยิบยกความหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้ดังนี้

                                 วิลเลี่ยม เออร์วิน (อ้างถึงใน ชมภารี ชมภูรัตน์, 2545) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของ
               ประชาชน คือ กระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนา ร่วมคิด

               ร่วมตัดสินใจ แก้ปัญหาของตนเอง ร่วมใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ และความชำนาญ ร่วมกับการใช้
               วิทยากรที่เหมาะสมและสนับสนุนติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์กรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

                                   โต สมบรูณ์ (2544, น. 31) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน
               คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ปัญหา หาวิธีการและแนวทางแก้ไข โดยร่วมกันตัดสินใจและวางแผน

               ตลอดจนการปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ และติดตามประเมินผล
                                   กรรณิกา ชมดี (2542, น. 11) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน

               ไว้ดังนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนหมายถึง ความร่วมมือของประชาชนไม่ว่าจะเป็นปัจเจกชนหรือกลุ่มคน
               ที่เห็นพ้องต้องกัน และเข้าร่วมรับผิดชอบเพื่อดำเนินการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ต้องการโดยกระทำ

               ผ่านกลุ่มองค์การเพื่อให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์
                                   ชัยอนันต์ สมุทวณิช (อ้างถึงใน ปธาน สุวรรณมงคล, 2543, น. 144-145) กล่าวว่า

               การมีส่วนร่วมของประชาชน (People participation) ว่าเป็นการแสดงถึงการยอมรับหลักการอำนาจ
               อธิปไตยเป็นของประชาชน และแสดงออกโดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทาง

               สถาบันและองค์การทางการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กร
               ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม การปกครองโดยประชาชนเป็นสิ่งที่

               สำคัญและถือเป็นหัวใจสำคัญของระบอบปกครองโดยประชาชน








                                                          58
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104