Page 98 - kpiebook62009
P. 98
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
กระทำการให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันของกลุ่ม พร้อมทั้งเกิดความรู้สึกนึกคิดร่วมในการรับผิดชอบกับกลุ่ม
ด้วย
ทศพล กฤตยพิสิฐ (2538, น. 10) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมไว้ว่า การมี
ส่วนร่วม หมายถึง การที่ปัจเจกบุคคล กลุ่ม หรือชุมชนมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงให้
เป็นไปตามความประสงค์ของตนจนมาสู่การตัดสินใจกระทำการ เพื่อให้บรรลุถึงความประสงค์นั้นๆ ซึ่ง
การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้และสติปัญญาอีกทางหนึ่ง
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ (2527, น. 181) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมหมายถึง การเกี่ยวข้อง
ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ (mental and emotion involvement) ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่ม
(group situation) ซึ่งผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเหตุเร้าใจให้กระทำการให้ (contribution) บรรลุ
จุดมุ่งหมายของกลุ่มนั้น กับทั้งทำให้รู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่มดังกล่าวด้วย
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2538, น. 19) ระบุว่าการมีส่วนร่วม คือการให้ประชาชน
เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจกระบวนการดำเนินโครงการและร่วมรับผลประโยชน์จากโครงการ
พัฒนา นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะประเมินผลโครงการนั้น อีกทั้งยังสรุปความหมายของ
การมีส่วนร่วมไว้ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้
การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าไปได้รับอำนาจ ที่จะคิดทำมากขึ้น ไม่ว่าในเรื่อง
การเมืองหรืออำนาจในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ
การมีส่วนร่วม หมายถึง ต้องร่วมกันอย่างมีอิสรภาพ เสมอภาค เท่าเทียมกัน และ
ควรมีส่วนร่วมด้วยอย่างแท้จริง/เข้มแข็ง (active) มิใช่ร่วมอย่างผิวเผินเฉื่อยชา (passive)
การมีส่วนร่วม หมายถึง ต้องร่วมตั้งแต่ขั้นแรกของกระบวนการ จนถึงขั้นสุดท้าย
ของโครงการ (entire development process)
การมีส่วนร่วมมักเป็นเรื่องที่ผู้ด้อยโอกาสขอแบ่งอำนาจจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
เพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตตนให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2547, น. 3) ให้ความหมายการมีส่วนร่วม คือ
กระบวนการที่ส่งเสริม ชักนำ สนับสนุน และสร้างโอกาสให้ชาวบ้านทั้งในรูปของส่วนบุคคลและกลุ่มคน
ต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม โดยจะต้องเป็นไปด้วย
ความสมัครใจ มิใช่เข้ามาร่วม เพราะการหวังรางวัลตอบแทน และที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมนั้นจะต้อง
สอดคล้องกับชีวิตความจำเป็น ความต้องการ และวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ในชุมชนด้วย
ปาริชาติ วลัยเสถียร (2543, น. 138) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมไว้ใน 2
ลักษณะ คือ
1. การมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการพัฒนา โดยให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ ได้แก่ การร่วมกันค้นหาปัญหา
การวางแผน การตัดสินใจ การระดมทรัพยากร และเทคโนโลยีในท้องถิ่น การบริหารจัดการ การติดตาม
57