Page 97 - kpiebook62009
P. 97
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้
ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับ
เหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
2. หลักคุณธรรม(Virtues) ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม โดยการรณรงค์
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม ตลอดจนการส่งเสริม และ
การสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน
มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต จนเป็นนิสัยประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและ
กันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก
และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
4. หลักความมีส่วนร่วม (Participation) ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มี
ส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น
ไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่
ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นใน
การแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
6. หลักความคุ้มค่า (Effectiveness) ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่
มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า
สร้างสรรค์ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกและรักษาพัฒนาทรัพยากร
ธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
โดยสรุป จากความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่
นักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความหมายไว้นั้น พอสรุปได้ว่า “ธรรมาภิบาล” เป็นการบริหารงาน
ของภาครัฐในทุกๆ ด้านโดยชอบธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมจาก
ทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศมี
พื้นฐานประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง มีความชอบธรรมด้านกฎหมาย มีเสถียรภาพ มีโครงสร้างการบริหารที่มี
ประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการบริหารจัดการ
อย่างโปร่งใสและมีมาตรฐานการให้บริการประชาชน
2.2.2 การมีส่วนร่วม
1) ความหมายของการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม (Participation) ในหลักวิชาการหมายถึง การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจ
และอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์ของกลุ่ม โดยผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเหตุเร้าใจให้
56