Page 96 - kpiebook62009
P. 96

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                  ยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ ซึ่งความหมายเรื่องธรรมาภิบาล

                  มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมายไว้หลากหลาย ดังนี้
                                     ความหมายของธรรมาภิบาล

                                    คำว่า Good Governance เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นต่อเนื่องจากแนวคิดเรื่อง

                  ประชาธิปไตย (Democracy) และประชาสังคม (Civil Society) โดยธนาคารโลก ในปี 1989 ภายใต้การมี
                  ฐานคิดที่ว่าปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจและความยากจนของประเทศกำลังพัฒนา ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหา

                  การทุจริตคอร์รัปชั่นและความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงานของภาครัฐซึ่งทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

                  ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคารโลกจำเป็นต้องปฏิรูป
                  ระบบการบริหารบ้านเมืองให้มีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรม มีกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นอิสระ

                  มีฝ่ายบริหารที่โปร่งใสตรวจสอบได้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นมาองค์การระหว่างประเทศที่ให้ทุน

                  สนับสนุนงานพัฒนา เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การอื่นๆ ภายใต้องค์การ
                  สหประชาชาติต่างก็ใช้แนวทางธรรมาภิบาล (Good Governance) ในการให้ความช่วยเหลือการพัฒนา

                  ของประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาและผลิตชุดโครงการที่สนับสนุนการเกิดธรรมาภิบาลอย่าง

                  กว้างขวาง
                                    คำว่า Governance หมายถึง กระบวนการตัดสินใจที่จะดำเนินการหรือไม่

                  ดำเนินการนโยบายใดๆ ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและรัฐบาล (Government)

                  ก็ถือว่าเป็นตัวแสดงหนึ่งในกระบวนการดังกล่าวและยังมีตัวแสดงอื่นๆ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยชนชั้นนำ
                  ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ หรือที่เรียกรวมๆ ว่า “ภาคประชาสังคม”

                  ร่วมกันคิดร่วมกันทำ

                                    การให้ความหมายในลักษณะนี้ ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง
                  ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (สุดจิต นิมิตกุล, 2543, น. 13-14) ได้นิยาม

                  ความหมายไว้ว่า ธรรมาภิบาล หมายถึง “การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี” เป็นแนวทางสำคัญ

                  ในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ
                  ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกัน

                  เป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศเพื่อ

                  บรรเทาป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤตภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึง
                  ความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                  และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลไกที่จะนำไปสู่เป้าหมาย

                  ข้างต้นรัฐบาลไทยได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง
                  และสังคมที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบธรรมาภิบาลโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับ

                  เอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ให้หลักสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ มีรายละเอียด ดังนี้







                                                             55
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101