Page 95 - kpiebook62009
P. 95

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                                 2) ความโปร่งใส (Transparency) การปฏิบัติงานผู้บริหารหรือคณะผู้บริหารองค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย สามารถให้ทุกฝ่ายตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนในระหว่างที่
               ดำรงตำแหน่งและหลังจากที่พ้นจากตำแหน่ง

                                 สุทัศนา สุทธิกุลสมบัติ (2542 : 1-2) ได้สรุปหลักความโปร่งใสว่าเป็นหนึ่งหลักการ

               ของหลักธรรมาภิบาล หรือ Good Governance ตามที่ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับ
               เอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ได้กำหนดไว้ ซึ่งกล่าวว่า ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง

               มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน

               สื่อจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานโดยการนำเสนอข่าวสาร
               ให้แก่สังคมได้รับทราบ

                                 วิภาส ทองสุทธิ์ (อ้างถึงใน โกวิทย์ พวงงาม, 2553, น. 87-89) กล่าวว่า หลัก

               ความโปร่งใส ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 หลักการ ได้แก่
                                 1. ความโปร่งใสด้านโครงสร้างระบบงาน ประกอบด้วยการมีระบบตรวจสอบภายใน

               มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใส การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล

               ข่าวสาร รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
                                 2. ความโปร่งใสด้านการให้คุณ คือ การสร้างระบบการจูงใจให้กับผู้ปฏิบัติงานด้วย

               ความซื่อสัตย์ เช่น การมีระบบให้ค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์ มีระบบให้ค่าตอบแทนพิเศษใน

               การปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
                                 3. ความโปร่งใสด้านการให้โทษ เป็นการกำหนดมาตรการปราม การตรวจสอบ

               การลงโทษ เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เช่น การมีระบบปรามผู้ส่อทุจริต มีระบบในการตรวจสอบ

               การทุจริต มีระบบช่องทางในการเรียกร้อง และการฟ้องร้อง ในกรณีที่ส่อพฤติกรรมการทุจริต และ
               การพิจารณาการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างยุติธรรม

                                 4. ความโปร่งใสในด้านการเปิดเผย เป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดการกระทำที่ก่อให้เกิด

               ความโปร่งใส เช่น การมีช่องทางเปิดเผยข้อมูลหลากหลายช่องทาง การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโดย
               การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ ตลอดจนเปิดช่องทางในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

               ตรวจสอบ เป็นต้น

                               2) แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล
                                  ความโปร่งใสถือได้ว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมาภิบาล เนื่องจากการ

               บริหารงานที่มีความโปร่งใสก็ถือเป็นการบริหารด้วยหลักของธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการจัด

               ระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ
               ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความสามัคคีและร่วมกันพัฒนาสังคมอย่าง









                                                          54
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100