Page 102 - kpiebook62009
P. 102

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                                    แนวทางการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของ

                  ประชาชนที่รับดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภายนอก โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกต้องไม่ทุ่มเทใน
                  ลักษณะการให้เปล่าโดยสิ้นเชิง ต้องทำให้คนในชุมชนรู้สึกสำนึก เป็นเจ้าของกิจกรรมร่วมกัน และต้อง

                  สามารถทำต่อไปได้เอง เมื่อการช่วยเหลือจากภายนอกสิ้นสุดลง การช่วยตนเองและพึ่งตนเองเป็นหลัก

                  สำคัญที่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้น
                                    กิจกรรมพัฒนาที่นำเข้าไปในชุมชนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความพร้อม

                  ของชุมชน ซึ่งรวมทั้งการใช้ทรัพยากรชุมชน การสอดคล้องกับประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน

                                    การเริ่มต้นกิจกรรมต้องอาศัยผู้นำชุมชน ซึ่งหมายถึงผู้นำตามธรรมชาติ ที่ชาวบ้าน
                  เคารพนับถือ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้นำชุมชนโดยทั่วไปจะปรับทัศนะและการยอมรับ

                  สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วกว่าและเป็นผู้ที่ชาวบ้านศรัทธาอยู่แล้ว

                                    ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นต้น
                  กล่าวคือ ร่วมหาข้อมูล ร่วมหาสาเหตุปัญหา ร่วมปรึกษาหารือทางแก้ไข ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน

                  ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมติดตามผลจนถึงขั้นร่วมบำรุงรักษาในระยะยาว

                                    กล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 ประการเป็นขั้นตอนที่จะก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และ
                  เพื่อให้การทำงานตามหลักการพัฒนา นอกจากนั้นการจะให้แนวทางการพัฒนาดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลต้อง

                  อาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนเอง ประกอบกับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย

                                    สรุปได้ว่า กระบวนการมีส่วนร่วม ส่งผลให้ประชาชนจะมีความรู้สึกรัก เกิดความรู้สึก
                  เป็นเจ้าของชุมชน เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน เนื่องจากได้ลงมือลงแรงในการทำงานและสิ่งที่สำคัญที่สุด

                  คือเกิดความรักใคร่สามัคคีในชุมชน จากครอบครัวที่เคยต่างคนต่างอยู่ ก็หันหน้าเข้าหากัน ร่วมคิด

                  ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ทำให้เกิดชุมชนที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ชุมชนนั้นจะเข้มแข็งและพัฒนาไปสู่
                  ความยั่งยืน อีกทั้งยังลดปัญหาในสังคมได้ ส่งผลให้สังคมเกิดความร่มเย็น ประเทศชาติก็พัฒนาไปในทางที่ดี

                                    การมีส่วนร่วมของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ

                  ของชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้แก่
                                    1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน

                  ส่วนที่ 12 เกี่ยวกับสิทธิชุมชน มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมี

                  ส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
                  ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม

                                    2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในส่วนที่ 10 สิทธิใน

                  ข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา 56 - 57 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิ
                  ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือ

                  ราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ

                  ประชาชน




                                                             61
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107