Page 105 - kpiebook62009
P. 105

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


               ส่วนท้องถิ่นที่ดีในแนวทางธรรมาภิบาล รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบางส่วนเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง

               ประยุกต์ใช้การสร้างตัวชี้วัดการมีส่วนร่วม และความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้นว่า
               รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่น สถาบันป๋วย อึ้งภากรณ์ (2544, น. 17) ได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดในการคัดเลือก

               รางวัลธรรมาธิบาลดีเด่น โดยใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ และเห็นว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม

               และความโปร่งใสเป็นหลักเกณฑ์ที่อยู่ในหลักธรรมาภิบาลด้วย ซึ่งเกณฑ์ชี้วัดความโปร่งใสประกอบด้วย
                                ความโปร่งใส ประกอบด้วย การบริหารกิจการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               ในส่วนของ อบต. ต้องสามารถเปิดเผยให้สาธารณะเปิดเผยได้ประชาชนมีโอกาสรับรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง

               ส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำงานของสภา อบต.ผู้บริหาร อบต. และการที่องค์กรปกครองส่วน
               ท้องถิ่นนั้นไม่เคยถูกร้องเรียนเรื่องการทุจริต

                                หลักการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย เปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องมี

               ส่วนร่วม และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำ
               แผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมเป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ร่วมในการประชุมสภาท้องถิ่น

                                งานวิจัยของ ภาคภูมิ นิยมวิทยพันธุ์ (2546, น. 21) ซึ่งทำวิจัยเรื่องความเป็นธรรมาภิบาล

               ในองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัด
               ปราจีนบุรี มีตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่ใช้ใน อบต.ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและ

               ความโปร่งใส มีดังนี้

                                การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย
                                1. ฝ่ายบริหาร อบต. ได้ใช้กลไกประชาพิจารณ์ในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่มี

               ผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนตำบลหรือไม่

                                2. เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของ อบต. และประชาชน ได้มีการจัดเวทีเพื่อ
               ไต่สวนสาธารณะว่าข้อเท็จจริงคืออะไร

                                3. อบต. ควรจัดให้มีการลงประชามติของประชาชนในโครงการที่ไม่สามารถหาฉันทา

               มติได้
                                4. การให้ประชาชนเข้าร่วมฟังการประชุมของสภา อบต. ได้ ซึ่งมีการระบุไว้ในบันทึก

               ของกระทรวงมหาดไทยถึง อบต.

                                5. การให้ประชาชนมีส่วนในการวางแผนและจัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อทำข้อบังคับ
               งบประมาณประจำปีของ อบต. โดยนำแผนที่จัดทำแล้วมาทำประชาพิจารณ์ตามหนังสือสั่งการของ

               มหาดไทย ปี พ.ศ. 2541

                                ความโปร่งใส ประกอบด้วย
                                1. การจัดตั้งหน่วยการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน

                                2. การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใสของสมาชิก อบต.






                                                          64
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110