Page 109 - kpiebook62009
P. 109

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                                  3.5  มีกลุ่ม องค์กรประชาชนในรูปอาสาสมัครเพื่อป้องกันการทุจริตใน อปท.

                                4) ด้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประกอบด้วย
                                  4.1  เปิดเผยงบประมาณรายรับ-รายจ่ายของ อปท. ให้ประชาชนทราบ

                                  4.2  เปิดเผยข้อมูลการทำงานในรอบ 6 เดือน

                                  4.3  เปิดช่องทางให้ประชาชนร่วมตรวจสอบการทำงานของ อปท. ได้อย่างหลากหลาย
               มากขึ้น

                                  4.4  เปิดเวทีสาธารณะให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งแต่การจัดทำแผน

               การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลแผน
                                  4.5  ต้องเป็น อปท. ที่ให้บริการประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว โดยจัดให้มีบริการ

               เช่น เอกสารเผยแพร่ในเรื่องที่จำเป็นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในการมาติดต่อ อปท.

               จัดสถานที่พักในสำนักงานสำหรับประชาชนที่มาติดต่องานกับ อปท. จัดให้มีตารางหรือป้ายบอกการทำงาน
               ของผู้บริหารท้องถิ่นให้ประชาชนทราบ จัดให้มีตู้หรือกล่องแสดงความคิดเห็น จัดให้มีช่องทาง

               การประชาสัมพันธ์ข่าวสารของ อปท. ในหลายรูปแบบ

                                จะเห็นได้ว่า หลักแห่งการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสย่อมมีความสำคัญที่ได้นำมาสู่
               การกำหนดเพื่อเป็นแนวทางการจัดอันดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้แล้ว หลักการมีส่วนร่วมและ

               ความโปร่งใส ยังเป็นหลักการที่สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งในหลักธรรมาภิบาล ที่เป็นหลักในการบริหารงาน

               ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการที่ดีอีกทางหนึ่ง หากการบริหารงานขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นนำการมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลจากประชาชน

               ร่วมกับความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ และตรวจสอบการทำงานได้

               ทุกขั้นตอน ก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
                                กล่าวโดยสรุปกรอบการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้อง

               เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างน้อย อาทิเช่น

                                1) การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา ทั้งแผนพัฒนา 5 ปี และแผนพัฒนาประจำปี
               โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดและกำหนดการจัดทำแผนพัฒนา โดยร่วมเสนอปัญหาความต้องการ

               และร่วมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนา ในรูปแบบกระบวนการประชาคม มีส่วนร่วมในการแสดง

               ความคิดเห็นต่อแผนพัฒนาในภาพรวม ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                2) การมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระเบียบ

               กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2537 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งผู้แทนชุมชน

               ร่วมเป็นกรรมการในการจัดซื้อ จัดจ้าง เพื่อให้เกิดความถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม











                                                          68
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114