Page 111 - kpiebook62009
P. 111
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
2.2.4 กรอบตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
จากกรอบแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม
ของประชาชนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คณะผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป็นตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน
(Audit Indicators) และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา (Performance Indicators) โดยมีการจัดทำกรอบตัวชี้วัดเพื่อ
ใช้ประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แยกออกเป็น 2 ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ยึด
หลักการแบ่งตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ตารางที่ 2.1
ตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และตัวชี้วัด การมี ความ
ส่วนร่วม โปร่งใส
หมวด 1 การจัดทำแผนและการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น (ในรอบปี 2561)
ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน
1. อบจ. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัดเป็น ✓
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
2. อบจ. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัดเป็น ✓
คณะกรรมการสนับสนุนแผนพัฒนาท้องถิ่น และมีการประชุมคณะกรรมการ
สนับสนุนแผนพัฒนาท้องถิ่น
3. อบจ. เปิดโอกาสให้หน่วยราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาคม รวมทั้งกลุ่ม ✓
องค์กรชุมชนหลากหลายในพื้นที่และกลุ่มสตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำ
หรือปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น
4. อบจ. แสดงบทบาทหลักในการประสานความร่วมมือการจัดทำแผนระหว่าง ✓ ✓
ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
ตัวชี้วัดขั้นพัฒนา
5. อบจ. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัดเป็น ✓
คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นและมีการประชุมคณะกรรมการ
ประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น
6. อบจ. มีวิธีการให้หน่วยราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาคมมีส่วนร่วมจัดทำ ✓ ✓
หรือปรับแผนพัฒนาท้องถิ่น
70