Page 106 - kpiebook62009
P. 106
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
กล่าวได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจใน
การดำเนินงาน ร่วมรับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ร่วมแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการลง
ประชามติ การทำประชาสังคม ประชาคม ซึ่งนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงความโปร่งใสในองค์กร ที่พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การรับรู้และตรวจสอบได้ ดังนั้น หลักการในการปกครองท้องถิ่นที่ควรควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมเพื่อ
นำไปสู่การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลคือความโปร่งใส
คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อใช้เป็นรางวัล
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้วางกรอบแนวทางตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย หลัก
คุณธรรม และนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม และ
หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นแนวทางในการประเมิน ร่วมกับ เกณฑ์ตัวชี้วัดประสิทธิภาพใน
การจัดกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำหรับเกณฑ์ชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใส ประกอบด้วย
1) ความซื่อสัตย์ และความโปร่งใสในการบริหารราชการ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเอกสาร
สื่อสิ่งพิมพ์ ที่แสดงให้เห็นว่าได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงาน และจัดซื้อจัดจ้าง
2) มีการตรวจสอบรายงานของจังหวัดหรืออำเภอ เกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชี และ
รายงานการเงิน ในรอบ 2 ปี
3) มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและมีวิธีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การดำเนิน
กิจกรรมส่งเสริมหรือ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น
4) การแต่งตั้งประชาชนเข้าร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านประชาคม
สำหรับเกณฑ์การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย
1. การให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
โดยตรวจสอบว่า ผู้บริหารหรือหน่วยงานปฏิบัติงานของ ท้องถิ่น รับฟังและนำปัญหา ความต้องการ
เกี่ยวกับการบริการสาธารณะของสมาชิกสภาท้องถิ่น และประชาชนเสนอไปปฏิบัติและรายงานให้
ประชาชนทราบ
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการประเมินความพึงพอใจของประชาชนในการบริการ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือไม่
3. ตรวจสอบว่ามีรายงานการประชุม หรือหนังสือเชิญให้ประชาชนร่วมประชุม และ
ตรวจสอบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้ (2550) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
ด้านความโปร่งใส กล่าวว่า เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย กระบวนการทำงาน กฎเกณฑ์กติกา
และความตั้งใจในการบริหารงานของรัฐต่อสาธารณชน มีอิสระในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน
65