Page 99 - kpiebook62008
P. 99

๖๘

               คะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรให้พระราชกำหนดนั้นตก

               ไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบต่อกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น


                       หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดและ
               พระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก มี

               ผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล


                       ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎร

               ยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้

               พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป

                       การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติ

               ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


                       การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภา และการยืนยันการอนุมัติพระราช

               กำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ”

                       จากบทบัญญัติข้างต้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขในการตราพระราชกำหนดไว้เฉพาะการตราขึ้นเพื่อ

               ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ

               ประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ทั้งยังต้องเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

               เมื่อฝ่ายบริหารตราพระราชกำหนดแล้วยังต้องนำพระราชกำหนดดังกล่าวให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาตามมาตรา


               ๑๗๒ วรรคสาม สี่ ห้า หก และเจ็ด เมื่อพิจารณาเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดตามมาตรา ๑๗๒ แห่งรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้วจะพบว่า การตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรอาจใช้อำนาจ

               ตามมาตรานี้ก็ได้เนื่องจากประเด็นเกี่ยวกับภาษีอากรมักมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ

               ประเทศดังมีตัวอย่างให้เห็นจากกรณีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภริยาตามพระราชกำหนดแก้ไข

               เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจการตราพระราชกำหนดกรณีทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา

               ๑๗๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยังมิได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรโดยใช้อำนาจ

               ตามบทบัญญัตินี้แต่อย่างใด
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104