Page 100 - kpiebook62008
P. 100

๖๙

               ๑๒๖.  เงื่อนไขการตราพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา นอกจากการตราพระราชกำหนดกรณี

               ทั่วไปแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดวิธีการตรากฎหมายภาษีในกรณีพิเศษ

               ไว้พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา โดยที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ว่า “ในกรณีที่มีความ

               จำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษา

               ประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้

                       ให้นำความในมาตรา ๑๗๒ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก และวรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่พระราช

               กำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นการตราขึ้นในระหว่างสมัยประชุม จะต้องนำเสนอต่อสภา


               ผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา”


                       การให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับภาษี

               อากรในบางกรณีจำเป็นต้องการการแก้ไขอย่างทันท่วงที หากปล่อยให้เนินช้าไปอาจก่อให้เปิดผลเสียต่อประเทศได้
               ทั้งนี้ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในลักษณะนี้เป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี จึง

               จำเป็นต้องใช้เฉพาะในกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น กล่าวคือ กรณีด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน

               ทั้งยังต้องนำพระราชกำหนดดังกล่าวมานำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติในภายหลังดังปรากฏตามความในมาตรา ๑๗๔

               วรรคสองของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งนี้ การใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้เกิดมีขึ้นแล้วเกี่ยวกับการกำหนดประเภท

               เงินได้เกี่ยวกับเงินดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๑




               ๑๒๗.  ความแตกต่างของเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช ๒๕๖๐ กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ

               เงื่อนไขการตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

               ๒๕๕๐ แล้วจะพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดประเภทของพระราช

               กำหนดไว้สองอันได้แก่ พระราชกำหนดกรณีทั่วไปตามมาตรา ๑๘๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราตรามมาตรา ๑๘๖ แห่งรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ การตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีจึงสามารถกระทำได้สองช่องทาง

               กล่าวคือ การตราพระราชกำหนดภาษีในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความ

               ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และคณะรัฐมนตรี

               เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังปรากฏตามมาตรา ๑๘๔ แห่งรัฐธรรมนูญ
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105