Page 97 - kpiebook62008
P. 97
๖๖
๑๒๒
จำกัดสิทธิต้องสมเหตุสมผลกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ต้องระบุเหตุผลและความจำเป็น
ในการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินประกอบด้วย
๑๒๑. การจำกัดสิทธิต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจะกระทำต่อกรณีใดกรณีหนึ่งหรือ
แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงไม่ได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญป้องกันมิได้ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายเพื่อ
๑๒๓
จำกัดสิทธิของบุคคลตามอำเภอใจหรือเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะมิได้
๑๒๒. ทั้งนี้ การบังคับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินข้างต้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยกลไกตาม
รัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษี” ดังจะอธิบายในหัวข้อ (๓.๔.๔)
ต่อไป
(๒) หลักเกณฑ์การตราพระราชบัญญัติเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีตาม
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๒๓. นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้ว หลักเกณฑ์การตราพระราชบัญญัติ
เพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษียังปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย มาตรา
๓๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กำหนดให้การจัดเก็บรายได้แผ่นดินที่เป็นภาษี
อากรจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และการยกเว้นหรือการลดภาษีอากรใด จะกระทำได้ก็แต่โดย
อาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจจัดเก็บภาษีอากรนั้น บทบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องหลักความชอบด้วย
กฎหมายภาษีที่รัฐธรรมนูญรับรอง นอกจากนี้ บทบัญญัติดังกล่าวยังได้กำหนดเพิ่มเติมถึงประเด็นที่ต้องพิจารณา
ประกอบการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอันได้แก่ ความเป็นธรรม ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้ง
การพัฒนาและสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐผู้
เสนอจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการยกเว้นหรือลดภาษีอากรด้วย
๑๒๒ บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, หน้า ๒๗๖ – ๒๘๓.
๑๒๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๔๐.