Page 92 - kpiebook62008
P. 92

๖๑

               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ในกรณีของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่

               ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอาจมีมติหรือตราข้อบังคับให้มีการรับฟังความคิดเห็นหรือวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ

               เกิดขึ้นจากกฎหมายก่อนหรือในระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายนั้นได้ตามที่เห็นสมควรดังปรากฏรายละเอียด

               ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

               พ.ศ. ๒๕๖๒




               ๑๑๒.  การประกันสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของผู้เสียภาษี แม้การตรากฎหมายต้องได้รับความยินยอมของ

               รัฐสภา แต่การพิจารณากฎหมายควรเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเข้ามาแสดงความ

               คิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนั้น ๆ ด้วย เนื่องจากการตรากฎหมายต่าง ๆ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อหน้าที่และ
               สิทธิของประชาชน โดยเฉพาะการตรากฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีซึ่งจะมี

               ผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง หากประกาศใช้กฎหมายไปโดยมิได้พิจารณาความคิดเห็นจากบุคคลที่มีส่วน

               เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบแล้วย่อมก่อให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี ดังนั้น การที่

               รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดการประกันสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในการตรากฎหมายไว้

               เป็นนโยบายแห่งรัฐและกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่ต้องกระทำตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ

               จัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งรวมถึงกฎหมายภาษีด้วยย่อมแสดงให้

               เห็นถึงความพยายามในการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี




                       ๓.๔.๒ การรับรองหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี: การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีใน

               ฐานะสิทธิในทรัพย์สิน


               ๑๑๓.  เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จะพบว่า รัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ไม่มีการกำหนด “สิทธิของผู้เสียภาษี” ไว้เป็นการเฉพาะ แต่การจัดเก็บ

               ภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนประการหนึ่ง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน
               การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและอยู่ในรูปของกฎหมายระดับ

               พระราชบัญญัติ นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษียังมีความจำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะและวัตถุประสงค์ของ

               ภาษีอากรประกอบด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดเรื่องสิทธิและเสรีภาพไว้

               ในหมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของ
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97