Page 94 - kpiebook62008
P. 94

๖๓

               ขอบเขตและการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ในขณะที่วรรคที่สามถึงเจ็ดได้กำหนด

               หลักเกณฑ์และวิธีการเฉพาะของการเวนคืนทรัพย์สินซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินประการหนึ่ง เมื่อพิจารณา

               บทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะพบว่า มาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญปัจจุบันมิได้บัญญัติถึงความหมายของสิทธิใน

               ทรัพย์สินไว้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง




               ๑๑๕.  สิทธิในทรัพย์สินตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิใน

               ทรัพย์สินมากที่สุดคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นรากฐานของกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน ในประเด็น

               เกี่ยวกับความหมายนั้น ความหมายของคำว่า “ทรัพย์สิน” ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่ง

               บัญญัติไว้ว่า “ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้” สิทธิใน
               ทรัพย์สินจึงรวมทั้งสิทธิในทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ นอกจากในแง่ของความหมาย

               แล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังได้กำหนดเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพยสิทธิไว้ว่า “ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น

                                                                                     ๑๑๖
               ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”  ดังนั้นทรัพยสิทธิจึงอาจ
               ก่อตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อพิจารณาบรรพ ๔ แห่งประมวล

               กฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วจะพบว่าทรัพยสิทธินั้นมีหลายประการด้วยกัน แต่ทรัพย์สิทธิที่สำคัญที่สุดคือ

               กรรมสิทธิ์เนื่องจากเป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของ กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองทรัพยสิทธิประเภทนี้สูงที่สุด การ

               คุ้มครองกรรมสิทธิ์ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้อย่างเห็นได้ชัดซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ภายในบังคับ
               แห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับ

               ทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอด

               เข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”  ๑๑๗





                              ๓.๔.๒.๒ การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีโดยฝ่ายนิติบัญญัติ: การตรา

                       พระราชบัญญัติเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี


               ๑๑๖.  การตราพระราชบัญญัติภาษีในระบบกฎหมายไทยจำต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทยเป็นประการแรกโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สินมาใช้


               ๑๑๖  มาตรา ๑๒๙๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
               ๑๑๗  มาตรา ๑๓๓๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99