Page 90 - kpiebook62008
P. 90
๕๙
(๓) การจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายภาษีอากรแห่งชาติ คณะกรรมการชุดนี้เป็นไปตามแนวทาง
ของแผนการปฏิรูปประเทศซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดทำนโยบายภาษี ภายใต้การดำเนินงานของ
คณะกรรมการชุดนี้ นโยบายภาษีของประเทศพึงมีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีมากยิ่งขึ้น
(๔) การสร้างความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐ การปฏิรูประบบการเงินการคลังโดยการ
กำหนดเพิ่มรายได้คู่กับแผนงบประมาณให้เกิดสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่ายเป็นแนวทางการสร้างสมดุลระหว่าง
หน้าที่และสิทธิประการหนึ่งเนื่องจากการพิจารณารายได้และรายจ่ายควบคู่กันจะทำให้การจัดเก็บภาษีและการใช้
เงินภาษีเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
๓.๔ การตรากฎหมายภาษีภายใต้หลักประกันการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี
การตรากฎหมายภาษีเป็นเรื่องของการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้เสียภาษี
จำนวนมาก ในการตรากฎหมายภาษีจึงกระทำโดยการกำหนดแต่หน้าที่ให้แก่ผู้เสียภาษีมิได้ แต่จำเป็นต้องมี
หลักการประกันการคุ้มครองสิทธิที่เหมาะสม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้
กำหนดหลักประกันการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการตรากฎหมายภาษีไว้เริ่มตั้งแต่การกำหนดกระบวนการรับ
ฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการพิจารณาของรัฐสภา (๓.๔.๑) รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้การตรากฎหมาย
ภาษียังต้องอยู่ภายใต้ของหลักความชอบด้วยกฎหมาภาษีโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิใน
ทรัพย์สิน (๓.๔.๒) ทั้งยังต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาคทางภาษี (๓.๔.๓) ทั้งนี้ ในการทำให้หลักประกันดังกล่าว
สามารถบรรลุได้จำเป็นต้องอาศัยการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายโดยศาลรัฐธรรมนูญ
(๓.๔.๔)
๓.๔.๑ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
๑๑๐. สถานะของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ การตรากฎหมายขึ้นหนึ่งฉบับย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้าง จึงมีความจำเป็นอย่าง
ยิ่งที่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบแสดงความคิดเห็นก่อนที่จะนำร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จึงกำหนดให้ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน