Page 86 - kpiebook62008
P. 86

๕๕

               ทางการเงินของประชาชนและภาคธุรกิจ กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อนำไปใช้ในการ

               จัดบริการที่ชัดเจน ส่วนการสร้างหลักประกันทางสังคมนั้น จำเป็นต้องมีมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมและสร้าง

                                                       ๑๐๔
               แรงจูงใจในการออมและการลงทุนระยะยาว  นอกจากนี้ แผนแม่บทประเด็นการบริการประชาชนและ
               ประสิทธิภาพภาครัฐยังกำหนดให้โครงสร้างการจัดเก็บต้องมีความเสมอภาคและความเป็นธรรมทั้งในแนวตั้งและ

               แนวนอน มีระบบจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เท่าทันบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานมีวิธีการที่ทำ

               ให้ประชาชนสามารถเข้าใจและตระหนักถึงระบบภาษีได้อย่างง่าย ให้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือในการลดความ
               เหลื่อมล้ำ  การกำหนดในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคทางภาษี
                        ๑๐๕
               และหลักการบริหารภาษีที่ดีในประเด็นของหลักความเป็นธรรมและหลักความสะดวก





               ๑๐๒.  การกำหนดนโยบายภาษีเพื่อปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ระบบภาษีมี

               ความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการบริการจัดการภาครัฐ ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร

               จัดการภาครัฐและแผนแม่บทประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐจึงกำหนดให้ระบบการเงินการ

               คลังประเทศต้องมีส่วนในการสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติโดยการกำหนดเพิ่มรายได้คู่กับแผน

               งบประมาณให้เกิดสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่าย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของรัฐและการ

               ปรับปรุงระบบภาษี นอกจากนี้ ในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ด้านนี้ยังกำหนดให้ท้องถิ่นมีระบบ
                                                                                                    ๑๐๖
               ภาษีและมีรายได้ท้องถิ่นอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นการใช้นโยบายภาษีเพื่อสนับสนุนการปกครองส่วนท้องถิ่น




                       ๓.๓.๓ สาระสำคัญของแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวกับนโยบายภาษี


               ๑๐๓.  แผนการปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายภาษี แผนการปฏิรูปประเทศถูกแบ่งออกเป็น
               ๑๑ ด้านอันได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ด้านสาธารณสุข

               ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้าน

               กฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการเมือง และด้านการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะ



               ๑๐๔  แผนยุทธศาสตร์ชาติ (๒๕๖๑-๒๕๘๐), หน้า ๔๔.

               ๑๐๕  แผนแม่บทประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ, หน้า ๑๐.

               ๑๐๖  แผนยุทธศาสตร์ชาติ (๒๕๖๑-๒๕๘๐), หน้า ๖๔. และแผนแม่บทประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ, หน้า
               ๑๐ และ ๑๔.
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91