Page 83 - kpiebook62008
P. 83
๕๒
อัยการ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐขององค์กรดังกล่าวเพื่อพิจารณา
ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
๙๖. สถานะของแผนการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
แผนการปฏิรูปประเทศปรากฏอยู่ในหมวดที่ ๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดย
มีการกำหนดเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศไว้ในมาตรา มาตรา ๒๕๗ ซึ่งบัญญัติว่า
“การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ
(๒) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
(๓) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ในขณะที่มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้
กำหนดเพิ่มเติมให้การปฏิรูปประเทศต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับ
มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กำหนดให้แผนการ
ปฏิรูปประเด็นต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จึงแสดงให้เห็นสถานะของแผนการปฏิรูป
ประเทศว่าเป็นกลไกในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
๙๗. สภาพบังคับของแผนการปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนดให้วุฒิสภา (มาตรา ๒๖๙ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐)
มีหน้าที่และอำนาจติดตามเสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามในการปฏิรูป
ประเทศ และยังกำหนดให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภา
เพื่อทราบทุกสามเดือน นอกจากนี้ คณะกรรมการปฏิรูปมีอำนาจในการพิจารณาว่าการดำเนินงานของหน่วยงาน
ของรัฐเป็นไปตามแผนการปฏิรูปหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนการปฏิรูป ให้คณะกรรมการปฏิรูปประสานงาน