Page 84 - kpiebook62008
P. 84

๕๓

               หรือปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐนั้น แต่หากไม่อาจหาข้อยุติได้ ให้แจ้งต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อ

               พิจารณาและสั่งการต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ หรือองค์กร

               อัยการ ให้คณะกรรมการปฏิรูปคณะนั้นประสานงานหรือปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข และแจ้งให้

               คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทราบต่อไป ดังปรากฏตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการ
                                               ๑๐๐
               ดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐




                       ๓.๓.๒ สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาษี


               ๙๘.  ภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้องกับนโยบายภาษี จากประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.
               ๒๕๖๐-๒๕๘๐) ยุทธศาสตร์ชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายภาษีและมีผลกระทบต่อหน้าที่และสิทธิ

               ของผู้เสียภาษีนั้นประกอบไปด้วย ๔ ยุทธศาสตร์อันได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

               ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความ

               เสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ นอกจากการ

               แยกยุทธศาสตร์ชาติออกเป็น ๔ ด้านแล้ว ยังมีการจัดทำแผนแม่บทอีก ๒๓ ประเด็นเพื่อบรรลุเป้าหมายของ

               ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นที่มีส่วนสำคัญต่อนโยบายภาษีปรากฏอยู่ในแผนแม่บทประเด็นการบริการประชาชน

               และประสิทธิภาพภาครัฐ




               ๙๙.  การกำหนดนโยบายภาษีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง

               ความสามารถในการแข่งขันได้กำหนดเกี่ยวกับนโยบายภาษีไว้ในสองส่วนอันได้แก่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเชื่อม


               ๑๐๐ มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ “ในกรณีที่ความปรากฏต่อ
               คณะกรรมการปฏิรูปคณะใดว่าการดำเนินการใดของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ ให้ดำเนินการ

               ดังต่อไปนี้
               (๑) ในกรณีที่เป็นหน่วยงานของรัฐในฝ่ายบริหาร ให้คณะกรรมการปฏิรูปคณะนั้นประสานงานหรือปรึกษาหารือกับหน่วยงานของ
               รัฐดังกล่าวหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือที่กำกับดูแลเพื่อแก้ไขปรับปรุงความไม่สอดคล้องนั้น ในกรณีที่ไม่อาจหาข้อยุติร่วมกันได้ ให้
               คณะกรรมการปฏิรูปแจ้งเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพิจารณา และเมื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติ

               ประการใดแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
               (๒) ในกรณีที่เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง ให้คณะกรรมการปฏิรูปคณะนั้นประสานงานหรือปรึกษาหารือกับ
               หัวหน้าหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง เพื่อแก้ไขปรับปรุงความไม่สอดคล้องนั้น และให้ดำเนินการตามที่ตกลงร่วมกัน

               แล้วรายงานให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทราบ”
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89