Page 81 - kpiebook62008
P. 81
๕๐
ร่วมมือร่วมใจกัน รวมตลอดทั้งการลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุขบนพื้นฐานของความรู้รัก
สามัคคีปรองดอง..” นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ชาติยังถูกกำหนดไว้ในฐานะเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในขณะที่การ
ปฏิรูปประเทศถูกกำหนดไว้เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศจึงเป็นกรอบ
สำคัญในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งรวมถึงนโยบายภาษีด้วย ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศจึงมี
บทบาทต่อการกำหนดหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การพิจารณาบทบาทดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึง
รายละเอียดต่าง ๆ ของดังปรากฏตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติ
แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๘๐)
และแผนการปฏิรูปประเทศประกอบด้วย
๓.๓.๑ สถานะและสภาพบังคับของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
๙๔. สถานะของยุทธศาสตร์ชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เมื่อพิจารณา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้วจะพบว่า ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเรื่องที่บัญญัติขึ้นเป็นครั้ง
แรก เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ในการบริหารประเทศ โดยมีสถานะเป็นหนึ่งในนโยบายแห่งรัฐซึ่ง
กำหนดรายละเอียดไว้ว่า
“มาตรา ๖๕ รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิ
บาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่
เป้าหมายดังกล่าว
การจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย
ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้”
๙๕. สภาพบังคับของยุทธศาสตร์ชาติ บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ชาติเป็นหนึ่งในนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้
เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว พร้อมทั้งเนื้อหาโดยรวมของยุทธศาสตร์ชาติว่าพึงกำหนด