Page 79 - kpiebook62008
P. 79

๔๘

               เสียภาษีของผู้เสียภาษีแต่ละคน ทั้งยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อีกด้วย การนำหลักการทางภาษีมา

               บัญญัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในรูปของหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญจึงเป็นนิมิตหมายอันดีในการที่จะเห็นการ

               จัดระบบภาษีของรัฐเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีทางภาษีที่ควรจะเป็น




                       ๓.๒.๓ บทบาทของหน้าที่ของรัฐที่มีต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี


               ๙๐.  เนื่องจากหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นบทบัญญัติบังคับ

               ให้รัฐต้องกระทำซึ่งแตกต่างจากนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ การกำหนดหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลัง

               และการจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรมจึงเป็นการบังคับรัฐให้ต้องดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีอากรตั้งแต่การ

               จัดเก็บจนกระทั่งการใช้จ่ายเงินภาษีให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังและเป็นไปอย่างเป็นธรรมซึ่งสอดคล้อง

               กับหลักการและทฤษฎีภาษีที่รัฐพึงปฏิบัติ ในการกำหนดกรอบดังกล่าวย่อมส่งผลต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี
               อย่างยิ่งรัฐจำเป็นต้องกำหนดหน้าที่ของผู้เสียภาษีและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีให้เป็นไปตามกรอบที่รัฐธรรมนูญ

               และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังเปิดโอกาสให้

               สิทธิแก่ประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่

               เกี่ยวข้อง เนื่องจากหน้าที่ในการรักษาวินัยการเงินการคลังและการจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรมนั้นเป็นหน้าที่ของ

               รัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง การกำหนดหน้าที่ของรัฐดังกล่าวจึงมีบทบาทสำคัญในการติดตามและ

               เร่งรัดให้เกิดการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีและหลักการทางภาษี

               ที่พึงปฏิบัติ





               ๙๑.  การรักษาวินัยการเงินการคลังตามหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีกับหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี
               การรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐจำเป็นต้องเป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมายตามที่ได้กล่าวไปแล้วใน

               หัวข้อ (๓.๒.๑) รัฐจึงมีหน้าที่สำคัญในการประกันหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อหน้าที่และ

               สิทธิของผู้เสียภาษี บทบาทดังกล่าวปรากฏให้เห็นตั้งแต่การตรากฎหมายภาษีตลอดจนการกำหนดรายละเอียดต่าง

               ๆ ตามกฎหมายลำดับรอง กล่าวคือ ภายใต้การรักษาวินัยการเงินการคลังตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย รัฐไม่

               อาจตรากฎหมายภาษีตามอำเภอใจได้ แต่จำเป็นต้องตรากฎหมายภาษีผ่านความยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่าย

               นิติบัญญัติจึงมีอำนาจในจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีโดยเฉพาะการกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษีอันได้แก่ หน่วย

               ภาษี ฐานภาษี ตลอดจนอัตราภาษี ส่วนรายละเอียดของการจัดเก็บภาษี ฝ่ายนิติบัญญัติอาจกำหนดให้ฝ่ายบริหารมี
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84