Page 74 - kpiebook62008
P. 74

๔๓

               ด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ซึ่งเป็นภาษีทางตรงนั้น ครอบคลุมผู้มีรายได้ที่เป็น

               บุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่าง ๆ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามนิยามในมาตรา

               ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร โดยบุคคลผู้มีเงินได้นั้นย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่างกันไป ได้แก่ ภาษีเงินได้

               บุคคลธรรมดา จัดเก็บจากผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลทั่วไป และหน่วยภาษีที่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ สำหรับภาษีเงินได้

               นิติบุคคลจัดเก็บจากนิติบุคคลที่มีรายได้ เป็นต้น




               ๘๐.  นอกเหนือจากภาษีทางตรงแล้ว ประมวลรัษฎากรยังใช้ในการจัดเก็บภาษีทางอ้อมซึ่งจัดเก็บจากการ

               บริโภคสินค้าและบริการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจการค้า

               ซึ่งสามารถผลักภาระภาษีไปให้แก่ผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ผู้กระทำตราสารบางประเภทอาจอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่
               เรียกว่า อากรแสตมป์ อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องขอให้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อใช้ติดต่อเสีย

               ภาษี นอกจากนี้หากเป็นการประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจ

               เฉพาะ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย





               ๘๑.  หน้าที่ในการเสียภาษีตามพระราชบัญญัติอื่น นอกจากประมวลรัษฎากรแล้ว ประเทศไทยยังมีการ
               จัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติอื่นอีก อาทิ พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.๒๕๑๐ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.

               ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๖๐ พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘

               พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.๒๕๖๒ ทั้งนี้ กฎหมายภาษีแต่ละฉบับจะมีการกำหนดโครงสร้าง

               ภาษีแตกต่างกันไปตามลักษณะของภาษีแต่ละประเภทซึ่งจะกระทบต่อหน้าที่ของผู้เสียภาษีในแต่ละฉบับ




               ๓.๒ หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และสิทธิ

               ของผู้เสียภาษี


               ๘๒.  หน้าที่ของรัฐได้ถูกกำหนดไว้ครั้งแรกในหมวด ๕ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

               ๒๕๖๐ โดยเป็นการกำหนดให้เกิดสภาพบังคับแก่รัฐต้องกระทำหน้าที่ที่มีความสำคัญ โดยกำหนดให้สิทธิแก่

               ประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตาม
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79