Page 73 - kpiebook62008
P. 73
๔๒
๘๙
และความรับผิดชอบต่อประชาชาติ โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ การบังคับใช้กฎหมายทาง
๙๐
เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
๗๘. การกำหนดหน้าที่ในการเสียภาษีเพื่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมกัน เมื่อพิจารณาเฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
กับหน้าที่ในการเสียภาษีที่ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดผลของการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ใน
การเสียภาษีอากรไว้เป็นการเฉพาะ แต่บัญญัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับหน้าที่ของปวงชนชาว
ไทยอื่น ดังนั้น หน้าที่ในการเสียภาษีอากรจึงไม่มีผลผูกพันและไม่มีผลโดยตรงต่อปวงชนชาวไทย แต่เป็นกรอบวินัย
การเงินการคลังอย่างกว้างและเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนในการ
๙๑
เสียสละทรัพย์สินของตนเองเพื่อนำมาพัฒนาประเทศในรูปแบบของการเสียภาษี หน้าที่ดังกล่าวจึงอยู่ใน
๙๒
ลักษณะของหน้าที่ทางสังคมหรือความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน แต่หากประสงค์จะทราบถึงผลของการ
ฝ่าฝืนหน้าที่ในการเสียภาษีจำต้องพิจารณากฎหมายลำดับต่ำกว่ารัฐธรรมนูญโดยเฉพาะกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าการฝ่าฝืนหน้าที่ในการเสียภาษีอาจส่งผลให้ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษี
จำต้องรับโทษทางอาญา เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มด้วย
๓.๑.๒ หน้าที่ของผู้เสียภาษีตามกฎหมายภาษีอื่น
๗๙. หน้าที่ของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวด ๔ ได้
กำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้ด้วยกันหลายประการ โดยมาตรา ๕๐ (๙) นั้นกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่เสียภาษี
อากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ภาษีอากรที่จัดเก็บจากผู้เสียภาษีอากรแต่ละประเภทกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษี
และวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายหลักที่จัดเก็บภาษีอากรประกอบไป
๘๙ กษมา เดชรักษา และชุติพงศ์ สมทรัพย์, “หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ: สถานะและความผูกพันทางกฎหมาย,”
พิฆเนศวร์สาร ๑๔, ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๒๐๗.
๙๐ เรื่องเดียวกัน, ๒๐๘.
๙๑ ปรีชา สุวรรณทัต, วิชาธรรมศาสตร์ว่าด้วยการคลัง, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๔), หน้า
๑๓๑.
๙๒ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.เค.เอส. สนามเพรส แมเนจเม้นท์
จำกัด, ๒๕๕๖), หน้า ๓๒.