Page 68 - kpiebook62008
P. 68

๓๗

                       ๓.๑.๑.๑ วิวัฒนาการของการกำหนดหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของปวงชนชาวไทย


               ๖๙.  วิวัฒนาการของการกำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ “หน้าที่ของปวงชนชาวไทย” ถูก

               บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรครั้งแรกในมาตรา ๑๕ หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามของ

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ความว่า “บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมายและมีหน้าที่

               ป้องกันประเทศ ช่วยเหลือราชการโดยทางเสียภาษีและอื่น ๆ ภายในเงื่อนไขและโดยอาการที่กฎหมายบัญญัติ”
               เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะพบว่าหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวประกอบไปด้วย

               หน้าที่เคารพต่อกฎหมาย หน้าที่ป้องกันประเทศ หน้าที่ช่วยเหลือราชการโดยทางเสียภาษีและหน้าที่อื่น ๆ




               ๗๐.  หน้าที่ในการเสียภาษีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ในประเด็นเกี่ยวกับ

               หน้าที่ในการเสียภาษีอากรนั้น การบัญญัติแยกให้เห็นหน้าที่ในการเสียภาษีแยกต่างหากจากหน้าที่ช่วยเหลือ

               ราชการอื่นแสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นการเสียสละเพื่อช่วยเหลือราชการ ทั้งยัง

               แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเสียภาษีอากรซึ่งมากกว่าการช่วยเหลือรัฐในทางอื่น อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายมี

               การกำหนดเกี่ยวกับการบังคับตามหน้าที่ดังกล่าวว่าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น รายละเอียด

               ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ในการเสียภาษีอากรจึงมิได้ถูกกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่กำหนดไว้ในกฎหมายระดับ

               พระราชบัญญัติ




               ๗๑.  การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

               ๒๔๙๒ ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ยังคงบัญญัติหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้

               เช่นเดิมจนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติและจำนวน

                                                                      ๘๒
               หน้าที่ของปวงชนชาวไทย โดยสามารถแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                       “๑. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ


                       ๒. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ


                       ๓. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญนี้


                       ๔. บุคคลมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมาย


               ๘๒  มาตรา ๕๖ – ๖๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73