Page 67 - kpiebook62008
P. 67

๓๖

                                         ๘๐
               ส่วนที่พึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น”  ดังนั้น เมื่อผู้ทรงสิทธิสามารถใช้สิทธิยันต่อผู้ใดได้ แสดงว่าผู้ที่ถูกใช้สิทธิอ้างยันได้
               ย่อมมีหน้าที่ต่อผู้ทรงสิทธิ ในมุมกลับกัน หน้าที่จึงมีความหมายว่า “ความชอบธรรมในลักษณะเป็นความผูกพันให้

               บุคคลตกอยู่ในสถานะจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำการเพื่อให้เป็นไปตาม

                                                                ๘๑
               ผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ”  หากพิจารณาในมุมมองระหว่างรัฐและปวงชนชาว
               ไทยแล้วจะพบว่า ปวงชนชาวไทยมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้นานัปการ

               เนื่องจากการบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดประสิทธิภาพเป็นหน้าที่หลักของรัฐ แต่การบริหารราชการแผ่นดินให้
               สำเร็จลุล่วงไปได้ไม่อาจดำเนินการโดยรัฐบาล รัฐสภา และศาล ซึ่งเป็นองค์กรหลักของรัฐเท่านั้น กลับจำเป็นต้อง

               อาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนภายในรัฐด้วย หน้าที่ของปวงชนชาวจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจนต้องมี

               การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ปวงชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของหน้าที่ดังกล่าวและให้ความร่วมมือ

               ในการบริการราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ หากมีการฝ่าฝืนหน้าที่ ย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อพิจารณา

               เฉพาะลงไปในแง่ของการเงินการคลังของประเทศย่อมพบว่า การดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงิน

               งบประมาณทั้งสิ้นซึ่งการหาเงินงบประมาณหลักจำเป็นต้องเป็นภาระของปวงชนชาวไทยในรูปของภาษีอากร การ

               เสียภาษีอากรจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ (๓.๑.๑) อย่างไรก็ตาม การ
               กำหนดหน้าที่ในการเสียภาษีของปวงชนชาวไทยเป็นเพียงการกำหนดเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเสีย

               ภาษี รายละเอียดต่าง ๆ ในการเสียภาษีตลอดจนสภาพบังคับของการฝ่าฝืนการปฏิบัติตามหน้าที่ในการเสียภาษี

               ต่างปรากฏอยู่ในกฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ (๓.๑.๒)





                       ๓.๑.๑ หน้าที่ของผู้เสียภาษีตามรัฐธรรมนูญ

               ๖๘.  ภาษีอากรเป็นรายได้ที่สำคัญที่สุดของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงต้องกำหนดภาษีอากรเป็น

               หน้าที่ของปวงชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (๓.๑.๑.๑) อย่างไรก็ตาม สถานะและผลทางกฎหมายของหน้าที่

               ในการเสียภาษีอาจไม่สามารถพิจารณาเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่จำต้องพิจารณาถึงกฎหมาย

               และกฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ประกอบด้วย เนื่องจากการบัญญัติหน้าที่ของปวงชนชาวไทยเป็นไปเพื่อให้

               ประชาชนภายในรัฐตระหนักถึงความสำคัญของการเสียภาษีอากรเท่านั้น (๓.๑.๑.๒)


               ๘๐  ปรีดี เกษมทรัพย์, กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๕ (กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,

               ๒๕๒๖), หน้า ๘๓-๘๕ อ้างใน สมยศ เชื้อไทย, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๒๐ (กรุงเทพมหานคร :

               สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๗), หน้า ๑๓๕.
               ๘๑  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๓๗.
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72