Page 66 - kpiebook62008
P. 66
บทที่ ๓
หน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทย
๖๖. การจัดเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวรทุกฉบับ
นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากประชาชนทุกคนจำเป็นต้องมีส่วนในการ
เสียสละทรัพย์สินของตนบางส่วนเพื่อนำมาบริหารราชการแผ่นดิน (๓.๑) แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กลับมิได้กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ จึงเกิดปัญหาขึ้นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้
ความสำคัญกับสิทธิของผู้เสียภาษีหรือไม่ อย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มิได้
กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติต่าง ๆ ของรัฐธรรนูญแล้วพบว่า มี
บทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิตั้งแต่การกำหนดหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการรักษากรอบการเงินการคลังและจัดตั้งระบบ
ภาษีที่เป็นธรรม (๓.๒) ส่วนการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการ
ปฏิรูปประเทศ (๓.๓) ในแง่ของกระบวนการตรากฎหมาย การจัดเก็บภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของ
ประชาชนประการหนึ่ง การจำกัดสิทธิดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามหลักการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน ทั้งยังปรากฏ
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (๓.๔) ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทยส่วนใหญ่
ปรากฏในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองโดยเฉพาะการคุ้มครองในระหว่างกระบวนการ
จัดเก็บภาษี (๓.๕) นอกจากการคุ้มครองสิทธิในระหว่างกระบวนการจัดเก็บภาษีแล้ว ผู้ยังปรากฏกระบวนการ
ตรวจสอบการจัดเก็บและการใช้เงินภาษีอีกด้วย (๓.๖)
๓.๑ การกำหนดหน้าที่ของผู้เสียภาษีในฐานะหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
๖๗. ความทั่วไปว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ โดยทั่วไป คำว่า “หน้าที่” เป็นคำที่อยู่ควบคู่กับคำว่า “สิทธิ” เสมอ
การพิเคราะห์ถึงคำว่า “หน้าที่” จึงต้องพิจารณาถึงความหมายของคำว่าสิทธิประกอบกันด้วย สิทธิหมายความว่า
“อำนาจอันชอบธรรมหรือความชอบธรรมที่บุคคลสามารถใช้ยันต่อผู้อื่นเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็น