Page 63 - kpiebook62008
P. 63
๓๒
กำหนดองค์กรตรวจเงินแผ่นดินในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สำนักงานตรวจการบัญชีแห่งชาติ (General
Accounting Office) ของสหรัฐอเมริกา สำนักงานการตรวจเงินแห่งชาติ (National Audit Office) ของสหราช
อาณาจักร ศาลบัญชี (La Cour des comptes) และศาลวินัยทางงบประมาณและการคลัง (La Cour de
๗๕
discipline budgétaire et financière) ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการ
๗๖
ตรวจเงินแผ่นดินของประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยแนวปฏิบัติในการตรวจเงินแผ่นดิน ค.ศ.
๑๙๗๗ ได้กำหนดรูปแบบการตรวจเงินแผ่นดินโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไว้สองลักษณะอันได้แก่ การตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายของการใช้งบประมาณ (Legality Audit) และการตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้
๗๗
งบประมาณ (Performance Audit)
๖๓. การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้งบประมาณ : การตรวจสอบขั้นพื้นฐาน การ
ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการใช้งบประมาณเป็นการตรวจสอบว่าการใช้งบประมาณเป็นไปโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องหรือไม่ซึ่งเป็นการตรวจสอบงบประมาณขั้นพื้นฐานเนื่องจากเป็น
หลักประกันให้แก่ผู้เสียภาษีว่าเงินภาษีที่รัฐจัดเก็บไปได้นำไปใช้อย่างโปร่งใส และถูกต้องตามที่ได้รับอนุมัติจาก
๗๘
รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน
๖๔. การตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณ : การตรวจสอบที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น การใช้
งบประมาณอาจมีความถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่อาจฟุ่มเฟือย ขาดประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิผล
จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณควบคู่กับการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย
ของการใช้งบประมาณ การตรวจสอบประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณพิจารณาในสามแง่มุมอันได้แก่ การ
ตรวจสอบความประหยัด (Economy) การตรวจสอบความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และการตรวจสอบความมี
ประสิทธิผล (Effectiveness) ดังนั้นการตรวจสอบประสิทธิภาพต้องพิจารณาถึงการใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดแต่
๗๕ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๒๔๒.
๗๖ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๓๓๒.
๗๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๔๓.
๗๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๔๔.