Page 58 - kpiebook62008
P. 58
๒๗
๕๗. การตรวจสอบการใช้งบประมาณโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจก่อนการใช้งบประมาณ
รูปแบบของการพิจารณาอนุมัติร่างงบประมาณ ในช่วงระหว่างการใช้งบประมาณและภายหลังการใช้งบประมาณ
๕๖
ฝ่ายนิติบัญญัติอาจตรวจสอบได้โดยการตั้งกระทู้ถามสดหรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นต้น การตรวจสอบการ
ใช้งบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือการอนุมัติร่างงบประมาณ เนื่องจากการอนุมัติงบประมาณเป็น
การแสดงให้เห็นว่าการใช้งบประมาณได้ผ่านความยินยอมของผู้แทนประชาชนแล้ว การอนุมัติงบประมาณจึงควร
อนุมัติทั้งงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถพิจารณาว่ารายจ่ายสอดคล้อง
กับรายรับหรือไม่ การอนุมัติงบประมาณในลักษณะดังกล่าวมักถูกเรียกว่า “งบประมาณสองขา” อย่างไรก็ตาม
การอนุมัติงบประมาณของบางประเทศยังคงอนุมัติเพียงงบประมาณรายจ่ายเท่านั้นซึ่งถูกเรียกว่า “งบประมาณขา
เดียว”
๕๘. งบประมาณขาเดียว ระบบงบประมาณขาเดียวเป็นระบบงบประมาณที่มาจากฐานความคิดที่ว่ารายได้
๕๗
ของรัฐบาลเป็นตัวแปรคงที่ จึงทำให้ระบบดังกล่าวมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(๑) ในแง่ของงบประมาณรายจ่าย ฝ่ายบริหารต้องเสนอกฎหมายงบประมาณที่แจกแจงงบประมาณ
รายจ่ายเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจควบคุมตรวจสอบโดยการพิจารณาพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๒) ในแง่ของงบประมาณรายรับ งบประมาณรายรับอยู่ในลักษณะประมาณการตามเอกสารประกอบร่าง
๕๘
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น ฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่มีอำนาจพิจารณาทบทวนการจัดเก็บ
๕๙
ภาษีในแต่ละปีเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณรายจ่าย
๖๐
(๓) การพิจารณากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจะพิจารณาแยกต่างหากออกจากการพิจารณางบประมาณ
กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจึงมีการกำหนดโครงสร้างภาษีและฝ่ายบริหารมีอำนาจจัดเก็บภาษีโดยใช้กฎหมาย
ดังกล่าว
๕๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๒๘.
๕๗ สำนักงบประมาณ. โครงการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการปฏิรูประบบงบประมาณ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
จัดทำโดยอรพิน สบายรูป และคณะ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์., ๒๕๖๐, หน้า ๒๔๔.
๕๘ อานันท์ กระบวนศรี, ปัญหาการควบคุมตรวจสอบประชานิยมในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, นิติศาสตรม
หาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘, หน้า ๑๓๘.
๕๙ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๒๙๐.