Page 54 - kpiebook62008
P. 54

๒๓

               ประกันความเป็นธรรมและประกันคุณภาพของการประเมินภาษีในฐานะที่เป็นการออกคำสั่งทางปกครองประเภท

                   ๔๒
               หนึ่ง  นอกจากในแง่ของกระบวนการแล้ว ในแง่ของบุคคลผู้ใช้อำนาจประเมินภาษีต้องมีความเป็นกลางและ
                                  ๔๓
               ปราศจากอคติลำเอียง  ดังตัวอย่างที่ปรากฏตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
               พ.ศ.๒๕๓๙




                       ๒.๒.๖ การให้สิทธิในการโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษี


               ๔๙.  ความหมายและความสำคัญของการโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นการ

               จำกัดสิทธิไม่อาจเป็นที่ยุติภายใต้การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจได้ แต่รัฐจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้บุคคลผู้

               ถูกจำกัดสิทธิโต้แย้งคัดค้าน การจัดเก็บภาษีดังกล่าวเพื่อให้ทบทวนการจำกัดสิทธิของประชาชน การโต้แย้งคัดค้าน

               การจัดเก็บภาษีอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในชั้นฝ่ายปกครอง และชั้นฝ่ายตุลาการ การจัดเก็บภาษีอากรไม่อาจยุติเด็ดขาดใน
               ขั้นของเจ้าพนักงานประเมินภาษีได้ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีโต้แย้งคัดค้านเช่นเดียวกับการบังคับใช้กฎหมาย

               ที่จำกัดสิทธิอื่น ๆ  อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรแล้วจะพบว่าข้อพิพาททางภาษี
                              ๔๔
               อากรเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน การออกคำสั่งประเมินภาษีอากรจึงเป็นการ

               ออกคำสั่งทางปกครองประการหนึ่ง การโต้แย้งคัดค้านดังกล่าวเรียกว่า “การอุทธรณ์” ระบบการอุทธรณ์ตาม
                                             ๔๕
               กฎหมายไทยเป็นระบบแบบบังคับซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๒ กรณีอันได้แก่ การอุทธรณ์ทั่วไป และการอุทธรณ์ตาม

                            ๔๖
               กฎหมายเฉพาะ  วิธีการอุทธรณ์คำสั่งประเมินภาษีมีลักษณะเฉพาะจึงมีความแตกต่างจากการโต้แย้งคัดค้านคำสั่ง
               ทางปกครองอื่นอยู่พอสมควร เนื่องจากในระบบกฎหมายไทย ข้อพิพาททางภาษีอากรอยู่ภายใต้การพิจารณา
               พิพากษาของศาลยุติธรรม มิได้อยู่ภายใต้การพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเหมือนกับกรณีของคำสั่งทาง

               ปกครอง







               ๔๒  วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร :

               สำนักพิมพ์วิญญูชน ,๒๕๖๑), หน้า ๗๙-๘๐.
               ๔๓  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๑-๗๒.

               ๔๔  ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, หน้า ๒๒๖.

               ๔๕  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๑.
               ๔๖  บรรเจิด สิงคะเนติ, การควบคุมฝ่ายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๕ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน ,๒๕๕๖), หน้า ๙๗-๙๘.
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59