Page 51 - kpiebook62008
P. 51
๒๐
๔๑. บทบาทของหลักความสะดวกที่มีต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี หลักความสะดวกเป็นหลักการที่
ส่งเสริมและจูงใจให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหน้าที่ของตนได้มากขึ้นเนื่องจากมีกระบวนการทางภาษีอากรที่เอื้อต่อผู้
เสียภาษี ในขณะที่การคุ้มครองสิทธิ รัฐไม่อาจกำหนดการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีแต่เพียงอย่างเดียว รัฐพึง
กำหนดวิธีการให้ผู้เสียภาษีพึงใช้สิทธิได้โดยง่ายด้วย หากรัฐกำหนดวิธีการการใช้สิทธิที่ยุ่งยากย่อมเปรียบเสมือน
การที่มิได้กำหนดสิทธินั้นตั้งแต่ต้น
๒.๒.๓.๔ หลักความประหยัด (Economy)
๔๒. ความหมายและความสำคัญของหลักความประหยัด ภาษีอากรที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียตาม
กฎหมายนั้นมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดเก็บเพื่อนำมาเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น การจัดเก็บภาษีอากรควรมีการ
๓๕
จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ รัฐควรเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันผู้เสียภาษีก็
ควรเสียค่าใช้จ่ายในการชำระภาษีให้น้อยที่สุดด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง
เงินเดือนเจ้าหน้าที่ หรือค่าอุปกรณ์ในการจัดเก็บภาษีล้วนเป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น เนื่องจากการเสีย
ภาษีเป็นเพียงการโอนทรัพยากรจากภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐโดยที่ไม่ได้สร้างรายได้หรือผลผลิตให้กับประเทศ อีกทั้ง
หากค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีมากย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องแบกรับภาระที่มากขึ้น
จากจำนวนภาษีที่ถูกเรียกเก็บ
๓๖
๔๓. บทบาทของหลักความประหยัดที่มีต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี หลักความประหยัดมีบทบาททั้งต่อ
รัฐและผู้เสียภาษี ในแง่ของรัฐ รัฐพึงบริหารจัดการภาษีด้วยความประหยัดเพื่ออำนวยรายได้สูงที่สุดซึ่งเป็น
วัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษี การอำนวยรายได้อย่างสูงที่สุดดังกล่าวย่อมส่งผลย้อนกลับมาเป็นประโยชน์
ของประชาชนโดยการสร้างบริการสาธารณะจากเงินภาษีนั้น ส่วนในแง่ของผู้เสียภาษี วิธีการเสียภาษีและการ
คุ้มครองสิทธิของผู้เสียพึงทำให้มีค่าใช้จ่ายอื่นแก่ประชาชนน้อยที่สุด ดังนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐจึงควรสร้างมาตรการในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี นอกจากจะทำให้รัฐ
สามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มหน่วยแล้ว ประชาชนยังไม่ต้องรับภาระหรือเสียค่าใช้จ่ายที่มากเกินควรสำหรับหน้าที่ใน
การเสียภาษีด้วย
๓๕ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล, เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายภาษีอากร ๑, หน้า ๘๑-๘๒.
๓๖ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, หน้า ๕๖.