Page 47 - kpiebook62008
P. 47

๑๖

               ๓๒.  ความเสมอภาคในการเสียภาษีระหว่างหญิงโสดกับหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรส มาตรา ๕๗ ตรี วรรค

               แรก บัญญัติให้หญิงที่มีสามีจะต้องยื่นรายการเสียภาษีร่วมกันกับสามี โดยให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ทำให้ฐาน

               ภาษีของสามีสูงกว่ากรณีแยกยื่นรายการ ส่งผลให้คู่สมรสจะต้องเสียภาษีมากกว่ากรณีของหญิงโสดซึ่งสามารถนำ

               เงินได้ของตนยื่นคำนวณเป็นฐานภาษีของตนเพียงผู้เดียว ส่วนความในวรรคสองและสามนั้น แม้คู่สมรสอาจขอแยก

               ยื่นรายการได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งหากเกิดกรณีที่มีฝ่ายใดค้างชำระภาษี กฎหมายก็ได้

               วางหลักให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ดังนั้น แม้วรรคสองและสามเป็นการให้
               ทางเลือกคู่สมรสสามารถขอแยกยื่นได้ แต่ก็เป็นการบังคับให้ยื่นร่วมกันทางอ้อม ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่า “กรณีเป็น

               การจำกัดสิทธิไม่ให้คู่สมรสแยกกันยื่นรายการและเสียภาษี ถือได้ว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิงโดย

               มุ่งจะให้สามีและภริยาร่วมกันจ่ายภาษีให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล

               เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคลระหว่างหญิงโสดกับหญิงมีสามีที่มีเงินได้พึงประเมินตาม

               มาตรา ๔๐ (๒) - (๘) อันเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐”





               ๓๓.  ความเสมอภาคในการยื่นรายการเสียภาษีของหญิงที่มีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินต่างประเภทกัน

               มาตรา ๕๗ เบญจ วรรคแรก บัญญัติให้ภริยาสามารถเลือกแยกยื่นรายการและเสียภาษีโดยไม่ต้องถือว่าเป็นเงินได้

               ของสามีได้เฉพาะกรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรเท่านั้น หากภริยามีเงิน
               ได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) - (๘) นั้นยังคงต้องยื่นร่วมกันกับสามีตามมาตรา ๕๗ ตรี ส่งผลให้หญิงมีสามีที่มี

               เงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๑) ที่ขอแยกยื่นรายการ มีทางเลือกที่จะเสียภาษีต่ำกว่ากรณีหญิงมีสามีที่มีเงินได้ตามมาตรา

               ๔๐ (๒) - (๘) ซึ่งถูกบังคับให้ต้องยื่นร่วมกับสามี ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่า “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) - (๘)

               กฎหมายได้แบ่งแยกไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตาม

               มาตรา ๔๐ (๑) หรือเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๒) - (๘) ก็ต่างเป็นเงินได้ที่เกิดจากการทำงานและตำแหน่งงานของ

               ภริยาเช่นเดียวกัน เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐ รับรองให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคกัน และ

               ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเท่าเทียมกัน จึงควรให้สามีและภริยามีสิทธิเลือกว่าจะรวมกันหรือแยกกัน
               ยื่นรายการและเสียภาษีในส่วนของตนอย่างชัดเจนและทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ภริยา

               แยกยื่นรายการและเสียภาษีได้เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๑) เท่านั้น บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวจึง

               เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคลระหว่างภริยาที่

               มีเงินได้พึงประเมินตาม ๔๐ (๑) กับภริยาที่มีเงินได้พึงประเมินตาม ๔๐ (๒) - (๘) อีกทั้งไม่เข้ากรณีตามรัฐธรรมนูญ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52