Page 50 - kpiebook62008
P. 50

๑๙

               ของประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการตีความกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ไม่มีความชัดเจน

               นอกจากนี้ กฎหมายภาษีอากรที่ชัดเจนยังทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถวางแผนหรือเตรียมตัวในการชำระภาษี

                                                                     ๓๓
               ได้ ซึ่งจะส่งผลดีในแง่ของความสมัครใจในการเสียภาษีอากรที่ดีขึ้น



               ๓๙.  บทบาทของหลักความแน่นอนที่มีต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี กฎหมายภาษีอากรที่ไม่แน่นอนและ

               ขาดความชัดเจน ย่อมทำให้เกิดช่องว่างในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจเป็นไปโดยทุจริต อันจะส่งผลให้เกิด

               ความไม่เป็นธรรมต่อประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ หากรัฐปฏิบัติตามหลักความแน่นอนนี้ย่อมส่งผลดีต่อผู้เสียภาษี

               ทั้งในแง่ของการกำหนดขอบเขตหน้าที่ของผู้เสียภาษีว่ามีขอบเขตกว้างหรือแคบเพียงใดและเป็นการประกันการ

               คุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี




                              ๒.๒.๓.๓ หลักความสะดวก (Convenience)


               ๔๐.  ความหมายและความสำคัญของหลักความสะดวก เมื่อการจัดเก็บภาษีอากรมีลักษณะเป็นการจำกัด

               สิทธิของประชาชน วิธีการจัดเก็บภาษีจึงไม่ควรสร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการ
               ชำระภาษี ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการชำระภาษีที่ควรเป็นระยะเวลาที่ประชาชนมีความพร้อมที่จะจ่ายเงิน หรือ

               วิธีการในการชำระภาษีที่ควรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น หรือ

               สถานที่ในการชำระภาษีที่ควรเดินทางไปได้สะดวก หากภาษีอากรประเภทใดสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้มีหน้าที่เสีย

               ภาษี ภาษีอากรนั้น ๆ ย่อมยากที่จะจัดเก็บ ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะของภาษีอากรที่ดีตามหลักความสะดวกนี้

               โดยในปัจจุบันการจัดเก็บภาษีหลายประเภทในประเทศไทยมีการบริหารงานที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี

               ในการชำระภาษี ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบแสดงรายการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การชำระภาษีผ่านธนาคาร

               ร้านค้า หรือระบบดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งลดความยุ่งยากในการชำระภาษีลง ทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียเวลามากกับ

               หน้าที่ในการเสียภาษีอากร
                                     ๓๔






               ๓๓  ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล, เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายภาษีอากร ๑, หน้า ๗๖.

               ๓๔  กาญจนา นิมมานเหมินท์, เอกสารคำสอนวิชา กฎหมายภาษีอากร (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและสื่อการสอนคณะ
               นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๔๔.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55