Page 46 - kpiebook62008
P. 46

๑๕

                              ๒.๒.๒.๑ ความหมายของหลักความเสมอภาคทางภาษี


               ๓๐.  ความหมายของหลักความเสมอภาคทางภาษี หลักความเสมอภาคทางภาษีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหลัก

               ความเสมอภาคทางกฎหมาย กล่าวคือ บทบัญญัติกฎหมายภาษีต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่

               เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความแตกต่างของแต่ละบุคคล แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากร

               สามารถนั้นสามารถกำหนดให้แตกต่างกันตามแต่ละบุคคลได้สำหรับกรณีที่มีสาระสำคัญหรือพฤติการณ์ที่แตกต่าง
                  ๓๐
               กัน  อาทิ ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพของครอบครัว หรือสภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าความเสมอ
               ภาคทางภาษีอากรไม่จำเป็นต้องปรากฏในรูปแบบของการชำระภาษีในจำนวนที่เท่ากันหรือใช้วิธีการเก็บภาษีแบบ

               เดียวกันเท่านั้น ดังนั้น การที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้บุคคลที่อยู่ในพฤติการณ์เดียวกัน หรือมีสาระสำคัญ

               อย่างเดียวกันได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกัน และบุคคลที่อยู่ในพฤติการณ์ที่แตกต่างกันได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน

               อย่างเป็นธรรมย่อมถือเป็นความเสมอภาคทางภาษีอากรแล้ว หลักความเสมอภาคทางภาษีจึงเป็นหนึ่งในวิธีการ

               สร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีเนื่องจากการกำหนดให้การเสียภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของปวงชน

               ชาวไทยมิได้หมายความว่าปวงชนชาวไทยจำต้องเสียภาษีอากรเท่ากันแต่จำต้องเสียภาษีอากรตามความสามารถ
               ของตนเอง





                              ๒.๒.๒.๒ ตัวอย่างการบังคับใช้หลักความเสมอภาคทางภาษี


               ๓๑.  ในอดีตประเทศไทยเคยมีบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติอันเป็นการขัดต่อ

               รัฐธรรมนูญในขณะนั้นที่มีบทบัญญัติรับรองหลักความเสมอภาคเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน บทบัญญัติ

               ดังกล่าว คือ ประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกไปอันเป็นผลมาจากคำ
               วินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๗/๒๕๕๕ ที่วินิจฉัยให้บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗

               เบญจ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยดังกล่าวได้แยกสารัตถะออกเป็นสองประเด็นอันได้แก่ ปัญหา

               ความเสมอภาคระหว่างในการเสียภาษีหญิงโสดกับหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรส และปัญหาความเสมอภาคในการยื่น

               รายการเสียภาษีของหญิงที่มีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรกับหญิงที่มีสามี

               ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) - (๘) แห่งประมวลรัษฎากร








               ๓๐  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๘.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51