Page 43 - kpiebook62008
P. 43

๑๒

               อย่างแคบ ความหมายอย่างกว้าง หมายถึง “ลักษณะสอดคล้องตามกฎหมาย กล่าวคือ การอนุมัติภาษี การบริการ

               ภาษี และการจัดเก็บภาษี ต้องกระทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดทั้งสิ้น” ในขณะที่ความหมายอย่างแคบ

               หมายถึง “การตกลงอนุมัติจัดเก็บภาษีและระบบภาษีอยู่ภายใต้ขอบอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตราเป็น

                        ๒๖
               กฎหมาย”



               ๒๒.  รากฐานแนวคิดของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีนี้เป็นหัวใจ

               สำคัญของกฎหมายภาษีอากร และมีมาตั้งแต่ในสมัยประวัติศาสตร์ที่ได้เริ่มมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

               เนื่องจากหลักการนี้มีที่มาจากแนวคิดเรื่องหลักการตกลงยินยอมทางภาษี แนวคิดเกี่ยวกับการต้องได้รับความ

               ยินยอมของประชาชนทุกคนในการที่จะให้ให้รัฐเก็บภาษีจึงเริ่มก่อตัวขึ้นในยุคที่มีระบอบดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม
               ในระบอบการปกครองที่มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น ๓ ฝ่าย อันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ

               ฝ่ายตุลาการ อย่างเช่นประเทศไทยนั้น ความตกลงยินยอมดังกล่าวเป็นการได้รับความยินยอมโดยอ้อม กล่าวคือ

               เป็นการยินยอมผ่านทางผู้แทนของประชาชนเสียมากกว่าจะมายินยอมเองโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นประการที่

               ยินยอมเองโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็อาจสรุปได้ว่าอำนาจในการจัดเก็บภาษีของรัฐมิใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ

               แต่ล้วนแล้วเป็นอำนาจที่มาจากการยินยอมหรืออนุมัติจากประชาชนแล้วนั่นเอง





               ๒๓.  องค์ประกอบของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี ทั้งนี้ หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีนั้น สามารถ

               แยกองค์ประกอบของหลักดังกล่าวได้ ๔ ประการ ได้แก่ หลักความยินยอมทางภาษี การกำหนดอำนาจบังคับของ

               กฎหมายภาษีอากร การควบคุมการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรโดยองค์กรตุลาการ และความเป็นเอกเทศของ
                               ๒๗
               กฎหมายภาษีอากร




               ๒๔.  หลักความยินยอมทางภาษี หลักความยินยอมทางภาษีเป็นแนวคิดที่เคารพการตกลงยินยอมของ

               ประชาชนในการที่รัฐจะเข้ามาจัดเก็บภาษีเนื่องจากการจัดเก็บภาษีเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนประการหนึ่ง

               ในปัจจุบันนี้การให้ความตกลงยินยอมเป็นรายบุคคลนั้นเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก การตกลงยินยอมในปัจจุบันจึง


               ๒๖  ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, การคลังและภาษีอากร ทฤษฎีและหลักกฎหมายภาษีอากร, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญู
               ชน , ๒๕๔๔), หน้า ๙๐.

               ๒๗  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๒-๑๒๒.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48