Page 40 - kpiebook62008
P. 40
๙
ธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคุมการบริโภค ทั้งยังอาจเป็นการสนองนโยบายอื่น ๆ
๑๙
ของรัฐอีกด้วย
๑๓. วัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน มาตรการภาษีมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ดังปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายของรัฐในแต่ยุคแต่ละสมัย ดังตัวอย่างเช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจใน
กรณีของการให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.๒๕๒๐ การรักษาเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจดังปรากฏตามนโยบายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้อกองทุนรวมระยะยาวและ
๒๐
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นต้น
๑๔. วัตถุประสงค์ทางด้านสังคม นอกจากการอำนวยรายได้และการมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจแล้ว ภาษียัง
ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางของสังคมอีกด้วยโดยเฉพาะในแง่ของการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีภาระภาษีตามความสามารถในการเสียภาษีของตน การสร้างความเป็นธรรมดังกล่าว
๒๑
ปรากฏให้เห็นจากการจัดเก็บภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘ และการ
จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.๒๕๖๒
๑๕. วัตถุประสงค์อื่น การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐจำเป็นต้องหาเครื่องมือเพื่อส่งเสริมหรือเพื่อยับยั้ง
ปัญหาบางประการ มาตรการทางภาษีจึงเป็นเครื่องมือเพื่อให้นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐบรรลุผล อาทิ การควบคุม
๒๒
การบริโภคเหล้า บุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำลายสุขภาพโดยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต การส่งเสริมการจ้างงานผู้
พิการโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้างดังปรากฏตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๐ การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้างดังปรากฏตามพระราช
กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๓๙) พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นต้น
๑๙ กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร, ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ๒๕๕๔, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๕๔),
หน้า ๑.
๒๐ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๑๖.
๒๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗.
๒๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗.