Page 39 - kpiebook62008
P. 39

๘

                                                           ๑๓
               อากรแล้ว รัฐมีสิทธิขาดในเงินภาษีดังกล่าวอย่างถาวร  รัฐไม่มีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีจึง
                                    ๑๔
               ไม่อาจเรียกคืนเงินภาษีได้  ลักษณะในข้อนี้ของภาษีอากรทำให้ภาษีอากรมีลักษณะแตกต่างจากเงินจากการกู้ยืม




               ๑๑.  ภาษีอากรเป็นรายได้ที่ไม่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้จ่ายในทันที เมื่อมีการเสียภาษีแล้ว ผู้

               เสียภาษีจะมิได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเสียภาษีนั้นโดยทันที เนื่องจากการจัดเก็บภาษีไม่อาจนำไปใช้เพื่อ

               วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งหรือเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะได้ แต่จำต้องนำภาษีดังกล่าวไปใช้จ่าย
                                  ๑๕
               เป็นสาธารณประโยชน์  จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้เสียภาษีแม้จะมิได้รับประโยชน์โดยตรงในทันที แต่จะได้รับประโยชน์
               โดยอ้อมในรูปของสาธารณประโยชน์ ด้วยลักษณะของภาษีอากรดังกล่าวส่งผลให้ภาษีอากรมีความแตกต่างจาก

                                                                    ๑๖
               ค่าธรรมเนียมอื่นของรัฐที่ผู้จ่ายจะได้รับประโยชน์โดยตรงในทันที




                       ๒.๑.๒ วัตถุประสงค์ของภาษี


               ๑๒.  การอำนวยรายได้ : วัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษี การจัดเก็บภาษีอากรเป็นการใช้อำนาจรัฐ
                                                                                            ๑๗
               จำกัดสิทธิของประชาชนเพื่อที่จะได้มาซึ่งรายได้ของรัฐและรองรับรายจ่ายสาธารณะของรัฐ  วัตถุประสงค์หลัก
               ของการจัดเก็บภาษีจึงเป็นไปเพื่อการอำนวยรายได้ให้แก่รัฐ แม้การอำนวยรายได้จะเป็นวัตถุประสงค์หลักการของ

               ภาษี แต่ในการตอบสนองการอำนวยรายได้ให้แก่รัฐ รัฐจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบทั่วไป ทั่วถึงและมี

                                                                         ๑๘
               ความแน่นอนโดยพิจารณาถึงความสามารถของผู้เสียภาษีแต่ละคน  แต่การอำนวยรายได้ให้แก่รัฐเป็นเพียง
               วัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดเก็บภาษีเท่านั้น วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษียังอาจเป็นไปเพื่อการสร้างความเป็น











               ๑๓  อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, หน้า ๙๕.

               ๑๔  ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, หน้า ๑๐.
               ๑๕  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙.

               ๑๖  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๓.

               ๑๗  เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๗๙.
               ๑๘  อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, , หน้า ๑๐๐-๑๐๑.
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44