Page 38 - kpiebook62008
P. 38
๗
รายได้ดังกล่าวเป็นรายได้ที่มีไว้เพื่อครอบคลุมภาระสาธารณะของรัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการ
๖
แทรกแซงอำนาจรัฐ”
BELTRAM มีความเห็นว่า “ภาษีเป็นเงินตราที่เรียกเก็บจากผู้เสียภาษีตามหลักความสามารถในการ
รับภาระสาธารณะนั้น เป็นการใช้อำนาจบังคับอันทำให้เกิดการโอนทรัพย์สินอย่างถาวร และไม่มีผลประโยชน์ตอบ
๗
แทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี เนื่องจากรายได้ดังกล่าวนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่รัฐได้กำหนดไว้”
๘. องค์ประกอบของภาษีอากร จากความหมายข้างต้น ภาษีจำต้องประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญสาม
ประการอันได้แก่ ภาษีต้องจัดเก็บในรูปของเงินตรา ภาษีมีลักษณะการบังคับและถาวร และภาษีเป็นรายได้ที่ไม่ให้
ผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแก่ผู้จ่ายในทันที
๙. ภาษีต้องจัดเก็บในรูปของเงินตรา ในอดีตการจัดเก็บรายได้ของรัฐอาจอยู่ในรูปแบบอื่นที่มิใช่เงินตรา
อาทิ การเกณฑ์แรงงาน การเรียกเอาทรัพย์สินอย่างอื่น แต่ในปัจจุบันเงินตราเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน
๘
การจัดเก็บภาษีจึงต้องอยู่ในรูปของเงินตรา
๙
๑๐. ภาษีมีลักษณะการบังคับและถาวร การบังคับดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของ
๑๐
ประชาชน การจัดเก็บภาษีจึงต้องกระทำภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีอากรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลัก
๑๒
๑๑
นิติรัฐ ทั้งยังต้องจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เสียภาษี นอกจากนี้ เมื่อมีการจัดเก็บภาษี
๖ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, การคลังและการภาษีอากร ภาคทฤษฎีและหลักกฎหมายภาษีอากร (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,
๒๕๔๒), หน้า ๑๙.
๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๙.
๘ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๘), หน้า ๗๘.
๙ อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, หน้า ๙๔.
๑๐ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, หน้า ๗-๘.
๑๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕.
๑๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘.