Page 33 - kpiebook62008
P. 33
๒
จำกัดสิทธิดังกล่าวย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและอยู่ในรูปของกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติ หากรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขดังว่าไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่ม
ภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ อีกทั้งจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
บุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้และต้องคำนึงถึงหลักความเสมอ
ภาค นอกจากนี้แล้วการจัดเก็บภาษียังถูกกำหนดไว้ในนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐโดยที่รัฐต้องจัดระบบภาษีให้เกิด
ความเป็นธรรมแก่สังคม นอกจากนี้หากพิจารณาในแง่ของการประกอบธุรกิจของประชาชน การเสียภาษีเป็น
ต้นทุนที่สำคัญประการหนึ่ง การเสียภาษีจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ หากการจัดเก็บภาษีมิได้
คำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ประกอบธุรกิจแล้ว การประกอบธุรกิจย่อมได้รับผลกระทบอย่างปฏิเสธ
มิได้ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีอากรจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐและภาคธุรกิจ ในการจัดเก็บภาษีอากรจึง
มิได้มีแต่มิติด้านหน้าที่ของปวงชนชาวไทยเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับมิติด้านสิทธิของผู้เสียภาษีที่
กฎหมายต้องรับรองและคุ้มครองประกอบด้วย
๔. หน้าที่ในการเสียภาษีถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้มีหน้าที่ในการเสียภาษีไว้ในหมวด ๔ หน้าที่
ของปวงชนชาวไทย มาตรา ๕๐ (๙) ซึ่งทำให้หน้าที่ของผู้เสียภาษีเป็นเรื่องที่รัฐให้ความสำคัญ ในขณะที่สิทธิของผู้
เสียภาษีมิได้มีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะซึ่งส่งผลให้การเสียภาษีเป็นเรื่องของหน้าที่เป็นหลักและอาจละเลยสิทธิ
ของผู้เสียภาษีไป จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและทบทวนความสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษี
๑.๒ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
๑.๒.๑ เพื่อศึกษากระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีของประเทศไทยในปัจจุบัน
๑.๒.๒ เพื่อสร้างองค์ความรู้ความสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษีของปวงชนชาวไทย
๑.๓ สมมติฐานงานวิจัย
การจัดเก็บภาษีในประเทศไทยยังมีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไม่เพียงพอ จึงต้องกำหนดแนว
ทางการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีเพิ่มเติมขึ้น