Page 32 - kpiebook62008
P. 32
บทที่ ๑
บทนำ
๑.๑ หลักการและเหตุผล
๑. ต้นเหตุของการกำหนดหน้าที่ในการเสียภาษี “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารราชการ
แผ่นดิน เนื่องจากการขับเคลื่อนงานบริหารราชการแผ่นดินในทุกด้านต้องอาศัยเงินเป็นตัวกลางในการดำเนินการ
รัฐจึงจำเป็นต้องขวนขวายหาเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การจัดเก็บภาษีอากร การออกพันธบัตร การกู้ยืมเงิน ซึ่ง
การจัดเก็บภาษีอากรนับเป็นวิธีการหาเงินของรัฐที่มีความสำคัญมากที่สุด ดังปรากฏตามในหลักการเสียภาษีอากร
ที่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน และหลักการดังกล่าวนี้ถูกนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับถาวรทุกฉบับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่กำหนดให้การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ดัวยเหตุนี้ การเสีย
ภาษีอากรจึงถูกมองเป็น “หน้าที่”
๒. การคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อย่างไรก็ตาม หาก
พิจารณาในแง่ของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดลงไว้ในหมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยบัญญัติเพื่อ
รับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของปวงชนไว้มีตัวอย่างเช่น สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
เสรีภาพในการนับถือศาสนา การแสดงความคิดเห็น การติดต่อสื่อสาร สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก สิทธิ
รับทราบและเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ สิทธิผู้บริโภค สิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ นอกจากสิทธิและ
เสรีภาพดังกล่าวแล้ว การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังครอบคลุมไปถึงสิทธิ
และเสรีภาพที่ยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ โดยให้ถือว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
ด้วย
๓. ความไม่สมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี เมื่อพิจารณาแล้วพบได้ว่าแม้จะมิได้มีการกำหนด
สิทธิของผู้เสียภาษีไว้โดยตรง แต่การจัดเก็บภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนประการหนึ่ง การ