Page 37 - kpiebook62008
P. 37
๖
๒.๑.๑ ความหมายของภาษี
๗. ทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความหมายของภาษี กฎหมายภาษีอากรมีพัฒนาการมาจากการส่งส่วย
อากรในอดีตซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากการส่งส่วยอากร
๒
มาเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ภาษีอากรจึงอยู่บนฐานของการแลกเปลี่ยนหรือการสมัครใจเพื่อความปลอดภัยของ
ชีวิตและทรัพย์สินของตน แต่ในปัจจุบันภาษีอากรอยู่บนฐานของ “หน้าที่ทางความร่วมมือของราษฎร” ซึ่ง
จำเป็นต้องอาศัยจิตสำนึกของคนในชาติและมีส่วนร่วมกันเพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพและสามารถนำไป
๓
พัฒนาประเทศได้ต่อไป ความหมายของภาษีอากรนั้น ได้มีนักวิชาการหลายท่านนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ
นิยามของภาษีไว้หลายแง่มุมด้วยกัน โดยเมื่อพิจารณาหลักแนวคิดของนักวิชาการเหล่านี้ จะเห็นว่าล้วนมีจุดร่วมที่
สามารถสะท้อนถึงหลักการสำคัญในความหมายของภาษีอากรได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Gaston JEZE มีความเห็นว่า “ภาษี คือเงินที่เรียกเก็บจากเอกชน โดยการใช้อำนาจบังคับเป็นการถาวร
๔
และไม่มีสิ่งตอบแทน”
Paul GAUDEMENT มีความเห็นว่า “ภาษี คือเงินที่รัฐบังคับจัดเก็บโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
ครอบคลุมภาระรายจ่ายสาธารณะและเพื่อกระจายภาระรายจ่ายดังกล่าวตามกำลังความสามารถในการให้ของ
๕
พลเมือง”
MEHL มีความเห็นว่า “ภาษีเป็นเงินตราที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน
และกฎหมายมหาชนตามหลักความสามารถในอันที่จะรับภาระสาธารณะ โดยมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจบังคับ
จัดเก็บ เป็นรายได้ที่มีลักษณะเป็นการจัดเก็บอย่างถาวรและไม่เป็นผลตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี เนื่องจาก
๒ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.เค.เอส. สนามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด,
๒๕๕๖), หน้า ๒๕.
๓ อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
๒๕๕๗), หน้า ๙๒.
๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๓.
๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๓-๙๔.