Page 42 - kpiebook62008
P. 42
๑๑
๒.๒ การสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี
๑๙. ทั้งการกำหนดหน้าที่และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีต่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน ระบบภาษีที่มี
ประสิทธิภาพไม่อาจขาดสองสิ่งนี้ได้ แต่ในระบบภาษีตั้งแต่การพิจารณานโยบายภาษีเพื่อตรากฎหมาย การบังคับ
ใช้กฎหมาย ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายภาษีจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและ
ทฤษฎีทางภาษีเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีโดยตอบสนองวัตถุประสงค์ของการ
จัดเก็บภาษีและยังคงการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีควบคู่กันไปด้วยตลอดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษี รัฐ
จำต้องเคารพต่อหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี (๒.๒.๑) และหลักความเสมอภาค (๒.๒.๒) พร้อมทั้งคำนึงถึง
หลักการบริหารภาษีที่ดี (๒.๒.๓) การดำเนินการตามกฎหมายภาษีจำต้องกระทำอย่างได้สัดส่วนแห่งสิทธิ (๒.๒.๔)
มีความโปร่งใส (๒.๒.๕) เปิดโอกาสให้โต้แย้งคัดค้าน (๒.๒.๖) มีกระบวนการตรวจสอบการจัดเก็บและการใช้เงิน
ภาษี (๒.๒.๗)
๒.๒.๑ การรับรองหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
๒๐. ภาษีอากรมีลักษณะเป็นการจัดเก็บโดยบังคับ เป็นรายได้ที่ไม่เป็นผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรงแต่เป็นไป
เพื่อกิจการสาธารณะประโยชน์ และมีลักษณะถาวรซึ่งผู้เสียภาษีไม่อาจเรียกคืนการชำระภาษีจากรัฐได้ดังที่กล่าว
มาแล้วในหัวข้อ (๒.๑.๑) ในการจัดเก็บภาษีนั้น รัฐจึงต้องกระทำภายใต้กฎหมายซึ่งผ่านความยินยอมของ
ประชาชน (๒.๒.๑.๑) การรับรองหลักความยินยอมจึงมีบทบาทต่อการสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของ
ผู้เสียภาษีเนื่องจากเป็นหลักประกันประการสำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีว่าจะถูกจำกัดด้วยความ
ยินยอมเท่านั้น (๒.๒.๑.๒)
๒.๒.๑.๑ ความหมายและความสำคัญของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
๒๑. ความหมายของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี หรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งได้ว่า หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกำหนดบทบัญญัติและการตรากฎหมายภาษีอากรนั้น มีขึ้นเพื่อให้
การตรากฎหมายภาษีอากรเป็นไปอย่างชอบด้วยกฎหมายและไม่กระทบถึงแก่นของสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนดังที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สำหรับความหมายของคำว่า “ความชอบด้วยกฎหมาย” นี้ มีนักวิชาการ
ชาวฝรั่งเศสได้จำแนกความหมายของคำดังกล่าวออกเป็น ๒ นัย ได้แก่ ความหมายอย่างกว้าง และความหมาย