Page 44 - kpiebook62008
P. 44
๑๓
เป็นการทำในรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติภาษีจำเป็นต้องเสนอต่อ “ผู้แทนราษฎร”
ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายนั้นได้
๒๕. การกำหนดอำนาจบังคับของกฎหมายภาษีอากร เนื่องจากกฎหมายภาษีอากรมีลักษณะบังคับ กฎหมาย
ดังกล่าวจึงต้องมีบทบัญญัติซึ่งบังคับผู้เสียภาษีให้มาดำเนินการเสียภาษีและยังได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานของ
รัฐในการดำเนินการจัดเก็บภาษีจากประชาชนอีกทางหนึ่งอีกด้วย นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังทำหน้าที่ตีกรอบ
อำนาจของเจ้าพนักงานในการดำเนินการดังกล่าวมิให้ใช้อำนาจเกินขอบเขตจนกระทบถึงแก่นสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนอีกด้วย ซึ่งในบรรดาบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการตีกรอบอำนาจนั้นมักจะเป็นเรื่องการลงโทษผู้ที่ไม่
ปฏิบัติตามกฎหมาย
๒๖. การควบคุมการบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรโดยองค์กรตุลาการ องค์กรตุลาการเป็นองค์กรที่มี
ความสำคัญในการพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ภาษีและผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีสามารถกระทำได้
ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จึงแสดงให้เห็นว่าองค์กรตุลาการเป็นผู้มี
อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางภาษีซึ่งอาจมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนภาษี หรืออาจมีผลเป็น
การยกเลิก เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานรัฐด้วย
๒๗. หลักความเป็นเอกเทศของกฎหมายภาษี กฎหมายภาษีอากรมีลักษณะพิเศษคือมีความเป็นเอกเทศจาก
กฎหมายทั่วไป แม้กระทั่งกับกฎหมายภาษีด้วยกันเอง กล่าวคือ ผู้บัญญัติกฎหมายสามารถร่างบทบัญญัติกฎหมาย
ให้มีเนื้อหาสาระที่แตกต่างจากแนวคิดพื้นฐานของกฎหมายอื่นได้แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของภาษีแต่ละ
ประเภทเช่นเดียวกัน และการที่กฎหมายภาษียังมีความเป็นเอกเทศจากกฎหมายภาษีด้วยกันเอง การบังคับใช้
กฎหมายภาษีประเภทใด ๆ กับบุคคลคนหนึ่งจึงต้องนำบทกฎหมายภาษีนั้น ๆ มาใช้เท่านั้น ไม่อาจนำกฎหมาย
ภาษีอีกประเภทหนึ่งมาปรับใช้ได้