Page 48 - kpiebook62008
P. 48

๑๗

               มาตรา ๓๐ วรรคท้าย กล่าวคือไม่ได้เป็นมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้

               สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น บทบัญญัติดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐”




                              ๒.๒.๒.๓ บทบาทของหลักความเสมอภาคทางภาษีที่มีต่อการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และ

               สิทธิของผู้เสียภาษี


               ๓๔.  หลักความเสมอภาคทางภาษีเป็นหลักการที่มีความสำคัญตลอดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีเนื่องจาก

               ในการตรากฎหมายภาษีจำเป็นต้องตราขึ้นเพื่อให้เสมอภาคกันโดยพิจารณาถึงความสามารถของบุคคลในการเสีย

               ภาษี ในการจัดเก็บภาษี หน่วยงานจัดเก็บพึงจัดเก็บภาษีจากทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนการใช้จ่ายเงินภาษี

               รัฐพึงกำหนดการใช้จ่ายเงินเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนอย่างเป็นธรรม หากกระบวนการทางภาษีทั้งหลายมิได้

               คำนึงถึงหลักความเสมอภาคทางภาษีแล้ว กฎหมายหรือมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่อาจใช้บังคับได้

               เนื่องจากขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นเกี่ยวกับหลักความเสมอภาค อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น

               ของประชาชนในการเสียภาษีอีกด้วย




                       ๒.๒.๓ การบริหารภาษีที่ดีเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี

               ๓๕.  แม้การเสียภาษีอากรถือเป็นหน้าที่หนึ่งของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ แต่การจัดเก็บภาษีซึ่งถือเป็น

               รายจ่ายของประชาชนนั้นมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น กฎหมายภาษีอากรที่

               บัญญัติขึ้นเพื่อจัดเก็บภาษีจากประชาชนจึงควรสอดคล้องกับหลักการทางภาษีอากรต่าง ๆ เพื่อไม่ให้การจัดเก็บ

               ภาษีอากรส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีมากจนเกินไป การจัดเก็บภาษีจึงจำเป็นต้องกระทำ

               อย่างเป็นธรรม (๒.๒.๓.๑) และความสะดวก (๒.๒.๓.๓) ต่อผู้เสียภาษีแต่ละคน ในแง่ของรัฐก็จำต้องตรากฎหมาย

               ภาษีอากรให้มีความแน่นอน (๒.๒.๓.๒) และมีการบริหารจัดการที่เป็นไปด้วยความประหยัด (๒.๒.๓.๔) ทั้งนี้

               เป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดีของ Adam Smith ที่อธิบายไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี

                         ๓๑
               ค.ศ. ๑๗๗๖  โดยหลักการดังกล่าวมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้





               ๓๑  ศุภรัตน์ ควัฒ น์กุล, เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายภาษีอากร ๑  (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๒), หน้า ๗๒.
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53