Page 52 - kpiebook62008
P. 52
๒๑
๒.๒.๔ การบังคับใช้กฎหมายภาษีตามหลักแห่งความได้สัดส่วน
๔๔. หลักแห่งความได้สัดส่วนเป็นหลักการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้รัฐใช้อำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนเกินความเหมาะสม ความจำเป็น และขาดสมดุลระหว่างประโยชน์ของปัจเจกชนกับประโยชน์
๓๗
สาธารณะ หลักแห่งความได้สัดส่วนสามารถแยกออกเป็นสามหลักการย่อยอันได้แก่ หลักแห่งความสัมฤทธิผล
๓๘
(๒.๒.๔.๑) หลักแห่งความจำเป็น (๒.๒.๔.๒) และหลักแห่งความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (๒.๒.๔.๓)
เมื่อกฎหมายภาษีอากรเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรภายใต้หลัก
แห่งความได้สัดส่วนจึงเป็นหนึ่งในการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีอากร
๒.๒.๔.๑ หลักแห่งความสัมฤทธิผล
๔๕. ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การใช้อำนาจรัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการที่สามารถสนอง
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย หากมาตรการดังกล่าวไม่อาจสนองวัตถุประสงค์ของกฎหมายได้ ย่อมเป็นมาตรการที่ไม่
๓๙
ชอบด้วยหลักแห่งความสัมฤทธิผล ดังนั้น รัฐจึงไม่อาจจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีได้โดยอำเภอใจ แต่ต้องจำกัดสิทธิ
เพื่อสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของการจำกัดสิทธินั้นด้วย ในแง่ของการเสียภาษี แม้กฎหมายภาษีอากรมี
วัตถุประสงค์หลักในการหารายได้ให้แก่รัฐ แต่กฎหมายภาษีอากรยังมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทั้งในแง่สังคมและ
เศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรจึงต้องสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้
เสียภาษีมิให้ถูกจำกัดสิทธิอย่างไม่จำกัด
๒.๒.๔.๒ หลักแห่งความจำเป็น
๔๖. นอกจากการพิจารณาถึงความสัมฤทธิผลของมาตรการทางกฎหมายแล้ว การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนยังจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุด หลักการ
๓๗ เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๖๑), หน้า
๑๖๒.
๓๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๔.
๓๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๔.