Page 56 - kpiebook62008
P. 56
๒๕
ภาษีนั้นพิจารณาว่าการใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อจัดเก็บภาษีนั้นเป็นไปโดยชอบหรือไม่ (๒.๒.๗.๑) และในขณะที่การ
ตรวจสอบการใช้เงินภาษีนั้นจะพิจารณาในช่วงขาออกของเงินภาษีว่าได้ใช้จ่ายไปโดยชอบหรือไม่ (๒.๒.๗.๒)
๒.๒.๗.๑ การควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษี
๕๓. การควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี หลังจากฝ่ายนิติบัญญัติ
ตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีแล้ว ฝ่ายบริหารย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
และภายใต้กรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ กล่าวคือ ฝ่ายบริหารอาจจัดเก็บภาษีได้เฉพาะกรณีที่กฎหมาย
๕๑
กำหนดไว้และไม่อาจจัดเก็บเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ กรอบดังกล่าวเป็นไปตามหลักความชอบด้วย
กฎหมายภาษีซึ่งได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ (๒.๒.๑) ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่การควบคุมการจัดเก็บภาษีให้
เป็นไปตามอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในฝ่ายปกครองซึ่งควบคุมตรวจสอบกันเองตามสายอำนาจบังคับบัญชา แต่การควบคุม
ตรวจสอบภายในฝ่ายปกครองอาจไม่มีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากอาจมีส่วนได้เสียซึ่งกันและกันระหว่างผู้ใช้
อำนาจจัดเก็บภาษีและผู้ตรวจสอบการจัดเก็บภาษี จึงจำเป็นต้องอาศัยการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีโดย
หน่วยงานภายนอกฝ่ายปกครองนั่นคือ องค์กรฝ่ายตุลาการ และองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน
๕๔. บทบาทของการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีที่มีต่อสิทธิของผู้เสียภาษี การบัญญัติกฎหมายภาษี
แต่เพียงอย่างเดียวไม่อาจก่อให้เกิดการจัดเก็บได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการบทบัญญัติของกฎหมายโดย
ปราศจากการควบคุมตรวจสอบ การควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีจึงกำหนดขึ้นเพื่อให้การจัดเก็บภาษีถูกต้อง
และเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งยังเป็นการแก้ไขปรับปรุงการใช้อำนาจรัฐซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของ
กฎหมายและก่อให้เกิดการประกันสิทธิของประชาชนในการจัดเก็บภาษีครั้งต่อ ๆ ไปในอนาคตด้วย ทั้งนี้ การ
ควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอาจมีการกำหนดโทษแก่เจ้าพนักงานผู้จัดเก็บภาษีไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย
กำหนดด้วย
๕๑ การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอาจมีกระบวนที่แตกต่างกันตามระบบงบประมาณของแต่ละประเทศ จึงจำเป็นต้องพิจารณา
การควบคุมการใช้เงินภาษี (๒.๒.๗.๒) ประกอบด้วย