Page 55 - kpiebook62008
P. 55
๒๔
๕๐. รูปแบบของการโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษี การโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษีในฝ่ายปกครองอาจเกิด
๔๗
มีขึ้นได้ตั้งแต่การร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งประเมินภาษีอากรซึ่งเป็นวิธีการที่สะดวกรวดเร็ว เนื่องจาก
เจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งจะสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ทันที แต่วิธีการโต้แย้งคัดค้านดังกล่าวคงไม่อาจทำให้
เจ้าพนักงานเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้โดยง่าย นอกจากร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานผู้ออกคำสั่งแล้ว การโต้แย้งคัดค้าน
คำสั่งอาจกระทำต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าพนักงานประเมินภาษีได้ แต่การโต้แย้งคัดค้านดังกล่าวอาจไม่เป็นผล
๔๘
เนื่องจากหากเจ้าพนักงานปฏิบัติตามแนวปฏิบัติภายในแล้ว ผู้บังคับบัญชามักจะยกอุทธรณ์ของผู้เสียภาษี เมื่อ
พิจารณาแล้วจะพบว่า การโต้แย้งคัดค้านสองประการแรกมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้น้อยเนื่องจากบุคคลที่
พิจารณาการโต้แย้งคัดค้านดังกล่าวเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งประเมินภาษีนั้นโดยตรง การโต้แย้งคัดค้านจึง
ปรากฏในลักษณะของการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำสั่ง
๔๙
ประเมินภาษีโดยตรง
๕๑. การยุติข้อพิพาททางภาษีอากร เมื่อมีการพิจารณาอุทธรณ์ในฝ่ายปกครองจนเป็นที่สุดแล้ว ผู้เสียภาษียัง
ไม่พอใจการพิจารณา ผู้เสียภาษียังสามารถโต้แย้งคัดค้านไปยังฝ่ายตุลาการเพื่อให้พิจารณาทบทวนความชอบด้วย
๕๐
กฎหมายของคำสั่งประเมินภาษีอากรอีกครั้งหนึ่ง สำหรับระบบกฎหมายไทย ข้อพิพาททางภาษีอากรอยู่ภายใต้
อำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรซึ่งเป็นหนึ่งในศาลยุติธรรม
๒.๒.๗ หลักการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บและใช้เงินภาษี
๕๒. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีเริ่มต้นตั้งแต่การจัดเก็บภาษี เมื่อมีการจัดเก็บภาษีแล้วย่อมต้องนำภาษี
เหล่านั้นไปบริหารราชการแผ่นดิน การตรวจสอบกระบวนการเกี่ยวกับภาษีเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และ
สิทธิของผู้เสียภาษีจึงพึงตรวจสอบตั้งแต่การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี การจัดเก็บภาษี ตลอดจนกระบวนการใช้
เงินภาษี การตรวจสอบการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบความชอบด้วย
รัฐธรรมนูญของกฎหมายซึ่งเป็นการประกันหลักการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่การตรวจสอบการจัดเก็บ
๔๗ ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล, กฎหมายภาษีอากร, หน้า ๒๓๔.
๔๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๘.
๔๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๘-๒๔๒.
๕๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๔๕.