Page 60 - kpiebook62008
P. 60

๒๙

                                                                                     ๖๓
                       (๑) ฝ่ายบริหารอาจตั้งประมาณการรายได้ให้สูงหรือต่ำเกินระดับที่เหมาะสม  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่าย
               บริหาร เนื่องจากรัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประมาณการรายได้ดังกล่าว ประมาณการรายได้จึงไม่มีความ

               น่าเชื่อถือ

                       (๒) ฝ่ายบริหารอาจเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีในระหว่างปีงบประมาณซึ่งทำให้รายได้ที่แท้จริงมีความ

                                                                       ๖๔
               แตกต่างจากประมาณการรายได้ในเอกสารประกอบงบประมาณ  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังอาจถูกใช้เป็น
                                                                                            ๖๕
               เครื่องมือในการหาเสียงเพื่อเอาใจประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องตัดทอนรายจ่ายให้สอดคล้องกัน

                       (๓) การพิจารณากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีแยกออกจากการพิจารณากฎหมายงบประมาณรายจ่ายส่งผลให้

               ฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจควบคุมตรวจสอบกฎหมายทั้งสองฉบับไปพร้อมกันได้ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่าง

               งบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่าย อีกทั้งกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีอาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
               ปัจจุบันเนื่องจากกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีมีลักษณะเป็นการถาวรจนกว่าจะถูกยกเลิกและฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจ

               ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละปีงบประมาณได้




               ๖๐.  งบประมาณสองขา งบประมาณแบบสองขา หรืองบประมาณรายจ่ายครบถ้วนสมบูรณ์ ระบบ

               งบประมาณแบบนี้เป็นการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทั้งรายรับและรายจ่ายโดยมีสาระสำคัญดังนี้


                       (๑) ระบบงบประมาณสองขาเป็นระบบงบประมาณให้ความสำคัญต่อหลักความยินยอมประชาชนโดยผ่าน

                     ๖๖
               ผู้แทน  เนื่องจากได้ให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติในการพิจารณางบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายไป
               พร้อมกัน








               ๖๓  สำนักงบประมาณ. โครงการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับการปฏิรูประบบงบประมาณ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
               จัดทำโดยอรพิน สบายรูป และคณะ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์., ๒๕๖๐, หน้า ๒๔๔.

               ๖๔  สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของต่างประเทศ : ข้อคิดและประสบการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและ
               ประเทศฝรั่งเศส, (กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์., ๒๕๖๐), หน้า ๒๒๕.

               ๖๕  พิสิฐ ลี้อาธรรม, “การปฏิรูประบบการคลังและการงบประมาณภาครัฐเพื่อวินัยการคลัง,” JOURNAL OF ECONOMICS ๒๐,๑

               (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๘): ๖.
               ๖๖  อานันท์ กระบวนศรี, ปัญหาการควบคุมตรวจสอบประชานิยมในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, นิติศาสตรม

               หาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘, หน้า ๑๔๐-๑๔๑.
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65