Page 62 - kpiebook62008
P. 62
๓๑
๗๒
งบประมาณซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติจะพิจารณาปีต่อปีพร้อมไปกับงบประมาณรายจ่าย การจัดเก็บภาษีในระบบ
งบประมาณสองขาจึงเป็นไปตามกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีและกฎหมายงบประมาณไปพร้อมกัน
๖๑. ผลกระทบจากการใช้ระบบงบประมาณสองขา ระบบงบประมาณสองขามีความแตกต่างจากระบบ
งบประมาณขาเดียวอย่างมีนัยสำคัญจึงก่อให้เกิดผลกระทบเป็นการแก้ไขปัญหาของระบบงบประมาณขาเดียว แต่
อาจส่งผลกระทบด้านลบได้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารไม่สามารถกำหนดงบประมาณรายรับอย่างไม่สมควร แต่ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องกำหนด
งบประมาณรายจ่ายโดยพิจารณาถึงงบประมาณรายรับประกอบด้วย ในกรณีที่กำหนดรายจ่ายมากกว่า
๗๓
ความสามารถ ฝ่ายบริหารจำต้องลดรายจ่ายอื่นลงหรือเพิ่มรายได้จากแหล่ง
(๒) ฝ่ายบริหารไม่อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินภาษีได้ตามอำเภอใจ
๗๔
เนื่องจากการปรับเปลี่ยนจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
(๓) ฝ่ายนิติบัญญัติควบคุมสร้างความสมดุลระหว่างงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายได้
เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการพิจารณางบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายได้ในวาระเดียวกัน
(๔) ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจทบทวนกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่
สถานการณ์ในปัจจุบันได้
(๕) การจัดเก็บภาษีจำเป็นต้องพิจารณาทั้งกฎหมายงบประมาณประจำปีและกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี
ประกอบกัน การจัดเก็บภาษีจึงมีความซับซ้อน
๖๒. การตรวจสอบการใช้งบประมาณโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน องค์กรตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กร
ตรวจสอบการใช้งบประมาณที่มีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากมีหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้งบประมาณโดยตรง
องค์กรตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจในการตรวจสอบภายหลังการใช้งบประมาณแล้ว ในแต่ละประเทศอาจมีการ
๗๒ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของต่างประเทศ : ข้อคิดและประสบการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและ
ประเทศฝรั่งเศส, หน้า ๒๑๙.
๗๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒๙-๒๓๐.
๗๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๐.