Page 57 - kpiebook62008
P. 57
๒๖
๒.๒.๗.๒ การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินภาษี
๕๕. ช่วงเวลาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ ตามหลักกฎหมายการคลัง การตรวจสอบการใช้เงินภาษี
ของรัฐสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาอันได้แก่ ช่วงก่อนการใช้งบประมาณ ช่วงระหว่างการใช้งบประมาณ และ
๕๒
ช่วงหลังการใช้งบประมาณ การตรวจสอบในช่วงแรกเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการจัดเตรียมร่างงบประมาณ
๕๓
เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา การตรวจสอบในช่วงระหว่างการใช้งบประมาณเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร
งบประมาณและความถูกต้องทางบัญชีซึ่งเป็นการตรวจสอบโดยผู้สั่งจ่ายหรือสมุห์บัญชี การตรวจสอบช่วงสุดท้าย
เป็นการตรวจสอบว่าการใช้งบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบช่วง
หลังการใช้งบประมาณส่วนใหญ่มักเป็นองค์กรตุลาการ เช่น ศาลบัญชีหรือศาลวินัยการคลังและงบประมาณ เมื่อ
พิจารณาช่วงเวลาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณแล้วจะพบว่าการตรวจสอบก่อการใช้งบประมาณอาจมี
ประสิทธิภาพน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจสอบภายหลังการใช้งบประมาณเนื่องจากการตรวจสอบก่อนการ
ใช้งบประมาณเกิดขึ้นก่อนการใช้งบประมาณเป็นเวลานาน การตรวจสอบที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดจึงเป็นการ
๕๔
ตรวจสอบภายหลังการใช้งบประมาณ ในการสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีจึงต้องให้
ความสำคัญกับการตรวจสอบภายหลังการใช้งบประมาณเป็นหลัก
๕๖. การตรวจสอบการใช้งบประมาณโดยฝ่ายบริหาร องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณสามารถ
๕๕
แบ่งออกเป็นสามองค์กรอันได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายบริหารมีหน้าที่
สำคัญในการตรวจสอบการใช้งบประมาณตั้งแต่การจัดทำร่างงบประมาณเพื่อขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
เมื่องบประมาณได้รับความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารยังมีหน้าที่ต้องบริหารงบประมาณดังกล่าวให้ถูกต้องและ
เหมาะสมตามที่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายนิติบัญญัติ การตรวจสอบของฝ่ายบริหารจึงเป็นการตรวจสอบก่อนและ
ระหว่างการใช้งบประมาณ
๕๒ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๒๒๘.
๕๓ อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, หน้า ๑๙๓.
๕๔ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๒๒๘-๒๒๙.
๕๕ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๓๒๖.